การจำลองความคิดเป็นข้อความและผังงาน
             

  

         ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา คือ การวางแผน การวางแผนที่ดีจะช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้โดยง่าย ผู้ที่สามารถวางแผน การแก้ปัญหาได้ดี นอกจากจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์แล้ว ยังต้องรู้จักการวางแผนให้เป็นขั้นตอนอย่างเป็นระเบียบ ด้วย การจำลองความคิดเป็นส่วนหนึ่งในขั้นที่สองของการแก้ปัญหา เพราะจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ดี โดยเฉพาะปัญหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน เครื่องมือที่ใช้ในการจำลองความคิด มักประกอบด้วยเครื่องหมายที่แตกต่างกันหลายอย่าง พอสรุปได้ดังนี้

         1) การจำลองความคิดเป็นข้อความหรือคำบรรยาย
          เป็นการเขียนเค้าโครงด้วยการบรรยายเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานของการแก้ปัญหาแต่ละตอน ในบางครั้งอาจใช้คำสั่งของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมก็ได้

ตัวอย่างการจำลองความคิดเป็นข้อความ
          การเปลี่ยนยางรถเมื่อยางแตกขณะขับรถ
             1. จอดรถหลบข้างทาง
             2. คลายสกรูยึดล้อ
             3. นำแม่แรงออกยกรถ
             4. ถอดล้อออก นำยางอะไหล่มาเปลี่ยน
             5. ขันสกรูเข้า เก็บยางที่ชำรุดเพื่อไปซ่อม
             6. คลายแม่แรง เก็บแม่แรง
         

         2) การจำลองความคิดเป็นสัญลักษณ์หรือแผนภาพ
          เครื่องหมาย รูปแบบต่าง ๆ ซึ่งใช้สำหรับสื่อสารความหมายให้เข้าใจตรงกัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (The American National Standard Institute, ANSI) ได้กำหนดสัญลักษณ์ไว้เป็นมาตรฐานแล้ว สามารถนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสมต่อไป


ตารางที่ 1 แสดงความหมายของสัญลักษณ์

สัญลักษณ์
ชื่อ
ความหมาย
เริ่มต้นและจบ แทนจุดเริ่มต้นและจบของโปรแกรมหลักและ โปรแกรมย่อย
การรับและแสดงผลข้อมูล แทนจุดที่จะนำข้อมูลเข้าหรือออกจากคอมพิวเตอร์ โดยไม่ระบุอุปกรณ์
การตัดสินใจ แทนจุดที่ต้องเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
การปฏิบัติงาน แทนจุดที่มีการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
จุดเชื่อมต่อ แทนจุดที่เชื่อมต่อของผังงานเมื่อใช้สัญลักษณ์ เพื่อให้ดูง่ายขึ้น
จุดเชื่อมต่อหน้ากระดาษ แทนจุดที่เชื่อมต่อผังงานที่อยู่คนละหน้ากระดาษ
ทิศทาง แทนทิศทางขั้นตอนการดำเนินงาน ซึ่งจะปฏิบัติ ต่อเนื่องกันตามทิศทางของหัวลูกศร