โครงสร้างข้อมูล
      โครงสร้างของข้อมูลจะประกอบด้วย

    1. บิต คือตัวเลขโดดในระบบเลขฐานสอง ซึ่งมีค่าได้เพียง 0 หรือ 1 บิต เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในการแทนข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
     2. ตัวอักขระ (Charecter) หมายถึงตัวอักขระแต่ละตัว ซึ่งอาจเป็น ตัวเลข ตัวอักษร หรือเครื่องหมายใด ๆ การแทนตัวอักขระแต่ละตัวในคอมพิวเตอร์ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิตซึ่งเราเรียกอีกอย่างว่า ไบต์
     3. เขตข้อมูล (Field) หมายถึงหน่วยข้อมูลหน่วยหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาแทนความหมายใด ความหมายหนึ่ง เขตข้อมูลแต่ละเขตประกอบด้วยตัวอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
     4. ระเบียนข้อมูล (record) หมายถึงกลุ่มของเขตข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน ระเบียนข้อมูลประกอบด้วยเขตข้อมูลตั้งแต่หนึ่งเขตข้อมูลขึ้นไป

                            5. แฟ้มข้อมูล (File) หมายถึงกลุ่มของระเบียนแบบเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วย ระเบียนข้อมูลตั้งแต่หนึ่งระเบียนขึ้นไป
         พิจารณาการเก็บประวัติของนักเรียนในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ประวัติของนักเรียนคนหนึ่ง ๆ จะบันทึกลงในระเบียนประวัติหนึ่งใบ โดยประกอบด้วยเขตข้อมูลต่าง ๆ เช่น ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปีเกิด โดยที่ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นตัวเลข หรือตัวอักษร ก็ได้ และใบระเบียนประวัติของนักเรียน ในโรงเรียนจะได้รับการจัดเก็บ ไว้ในแฟ้มเดียวกันดังรูป
         จากรูป จะเห็นว่า ประวัตินักเรียนแต่ละคน 1 ใบ หรือ 1 ระเบียน เก็บอยู่ในแฟ้มประวัตินักเรียนทั้งโรงเรียน เมื่อดึงประวัตินักเรียน 1 คน มาพิจารณา จะประกอบด้วยเขตข้อมูล จากรูปสรุปได้ว่า
           ระเบียนประวัติของนักเรียนทั้งหมดเรียกว่า แฟ้มข้อมูล ประวัตินักเรียนของโรงเรียน
           ระเบียนประวัติของนักเรียนแต่ละคนเรียกว่า ระเบียนข้อมูล ประวัตินักเรียน
           ข้อมูลแต่ละค่าในระเบียนประวัติ เรียกว่า เขตข้อมูล ประวัตินักเรียน ซึ่งอาจเป็นตัวเลข หรือตัวหนังสือ

กลับหน้าเมนู