ระบบฐานข้อมูล
 
           ระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลจำนวนหลาย ๆ แฟ้มข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีการจัดระบบข้อมูล ไว้อย่างดี กล่าวคือ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดียวกันจะต้องไม่มีการซ้ำซ้อนกันแต่ระหว่างแฟ้มอาจมีการซ้ำซ้อนกัน
ได้บ้าง และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูล และค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเติม หรือ
ลบออกได้โดยไม่ทำให้ข้อมูลอื่นเสียหาย ดังตัวอย่างในรูป

แสดงความสัมพันธ์ของแฟ้มแต่ละแฟ้มในฐานข้อมูล


           ในรูป แสดงแฟ้มข้อมูลทั้งหมดที่ประกอบรวมอยู่ในฐานข้อมูล ส่วนของข้อมูลที่ซ้ำซ้อน คือส่วนของข้อมูลที่แรเงา
การเก็บข้อมูลอาจแยกอิสระเป็นแฟ้มเลยก็ได้ แต่มีส่วนชี้แสดงความสัมพันธ์ถึงกัน ดังรูประบบฐานข้อมูลนี้

aaaaa1) แฟ้มข้อมูลอาจารย์
aaaaa2) แฟ้มข้อมูลนักเรียน
aaaaa3) แฟ้มข้อมูลวิชาเรียน
aaaaa4) แฟ้มข้อมูลห้องเรียน

 
สดงความสัมพันธ์ของแฟ้มแต่ละแฟ้มในฐานข้อมูล

            สมมติว่าแฟ้มข้อมูลอาจารย์ประกอบด้วยเขตข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้ ชื่อ ตำแหน่ง เงินเดือน ที่อยู่ ฯลฯ ส่วนแฟ้มข้อมูลนักเรียนนั้นก็ต้องมีตัวชี้ว่ามีใครเป็นอาจารย์ประจำชั้น หรือในแฟ้มอาจจะมีตัวชี้ว่าใคร
เป็นผู้สอน เป็นต้น
aaaaa โดยปกติ อาจเก็บชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาไว้ในแฟ้มของนักเรียนเลยก็ได้ แต่จะทำให้ เสียเนื้อที่การเก็บ
ข้อมูลมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องหาทางสร้างตัวชี้ เพื่อแยกแยะข้อมูลในแต่ระเบียน ตัวอย่างเช่น ข้อมูลนักเรียน
ประกอบด้วย เลขประจำตัว ชื่อ สกุล รหัสอาจารย์ประจำชั้น

             ฐานข้อมูล หมายถึง การเก็บข้อมูลของผู้ใช้ และสามารถนำข้อมูลมาใช้งานร่วมกันได้ โดยไม่มีการซ้ำซ้อนของข้อมูล
หรือความขัดแย้งของข้อมูล ซึ่งสามารถแสดงลำดับขั้นในการเกิดฐานข้อมูลได้ดังรูป



            
           จากรูป ฐานข้อมูลเกิดจากบิต (Bit) หรือเลขฐานสองมารวมกัน 8 บิต รวมเป็นไบต์(Byte) หลาย ๆ ไบต์รวมกันเรียกว่า
ฟิลด์(Field) หลาย ๆ ฟิลด์รวมกันเรียกว่า เรคคอร์ด(Record) หลาย ๆ เรคคอร์ดรวมกันเรียกว่าไฟล์(File) และหลาย ๆ ไฟล์
รวมกันเรียกว่า ฐานข้อมูล (Database) ตามลำดับ

แนวความคิดของฐานข้อมูล

         จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการจัดการข้อมูลแบบไฟล์ ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดการข้อมูลแบบใหม่ ซึ่งแนวคิดเบื้องต้นของฐานข้อมูลคือการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันมาจัดเก็บลงในที่เดียวกัน โดยฐานข้อมูลดังกล่าวจะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์ชุดหนึ่ง แทนที่จะใช้งานแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่กระจัดกระจายและมีการ
ดูแลโดยผู้ใช้กลุ่มต่าง ๆ กัน เป้าหมายสูงสุดของแนวความคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูลคือการที่ข้อมูลแต่ละชุดถูกป้อนและจัดเก็บเพียง
ครั้งเดียว ผู้ใช้ที่ได้รับสิทธิ์เท่านั้นที่จะสามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งการที่ข้อมูลเป็นอิสระจากโปรแกรมประยุกต์เฉพาะกิจใด ๆ โดยการบริหารฐานข้อมูลเราจะอาศัยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า
ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล ( DBMS : Database Management System) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่าง โปรแกรม
กับฐานข้อมูลดังรูป

เป้าหมายของการใช้ระบบฐานข้อมูล

     1. ลดความซ้ำซ้อน
     2.ใช้ข้อมูลร่วมกัน
     3. การใช้และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลสะดวก และถูกต้อง
     4. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บและเรียกใช้
     5. ให้ความปลอดภัย
     6.เกิดมาตรฐานในการใช้งาน


แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (The Relational Database Model)


        แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นแบบจำลองที่ได้รับความนิยมใช้สูงสุดในปัจจุบัน โดยโครงสร้างการจัดเก็บ
ข้อมูลอยู่ในรูปของตาราง ซึ่งประกอบด้วยแถวและหลักที่สัมพันธ์กัน ข้อมูลในแต่ละแถวเรียก เรคคอร์ด (Record) และ
ข้อมูลในแต่ละหลักเรียกว่า ฟิล์ด (Field) แสดงได้ดังรูป

 

กลับหน้าเมนู