การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์
       ในปัจจุบันสังคมเป็นสังคมสารสนเทส ข้อมูลถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าของทุก หน่วยงาน ไม่ว่าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หน่วยงานทที่สามารถจัดการข้อมูลได้ดีกว่าย่อมได้เปรียบกว่าในทุกด้าน ดังนั้นจึงได้มีความพยายามนำ เทคโนโลยีด้าน คอมพิวเตอร เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานมีข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัย และสะดวก ต่อการเรียก ใช้งานมากที่สุด หากจินตนาการถึงการจัดการข้อมูลที่นิยมทำกันในปัจจุบัน ในคลีนิกแห่งหนึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลคนไข้ ที่มา รับการรักษา ข้อมูลที่ต้องการเก็บ ได้แก่ ประวัติส่วนตัวของคนไข้ อาการที่มารับการรักษา วิธีการรักษา และผลการรักษา วิธีหนึ่งที่ทำกันก็คือการจดบันทึกข้อมูลทั้งหมด ลงบนกระดาษ และเก็บกระดาษนั้นไว้ ถ้ามีข้อความซ้ำกัน เช่น ชื่อ และที่อยู่ของคนไข้ ฯลฯ เจ้าหน้าที่ต้องเขียนทุกใบก็จะเป็นการเสียเวลา ดังนั้นทางคลีนิกอาจใช้วิธีจ้างโรงพิมพ์พิมพ์แบบฟอร์มขึ้นมาเพื่อให้การกรอกข้อมูลง่ายขึ้น ลองพิจารณาตัวอย่างของแบบฟอร์มที่คลีนิกแห่งหนึ่งใช้ ดังรูป
         ในการจัดข้อมูลนี้ ทางคลีนิกใช้ตู้เก็บเอกสารขนาดใหญ่สำหรับเก็บกระดาษ แบบฟอร์ม และดำเนินการ เก็บเรียงไว้ในลิ้นชัก เมื่อมีคนไข้ใหม่เพิ่มขึ้นก็เพิ่มต่อกระดาษแบบฟอร์มใหม่เข้าไป ลักษณะการจัดการข้อมูลดังกล่าวเปรียบเทียบ ได้กับการ จัดการ แฟ้มข้อมูล ที่ใช้ทางคอมพิวเตอร์นั่นเอง
          เมื่อพิจารณาบัตรคนไข้ จะเห็นว่า ข้อมูลที่อยู่บนบัตรมีความหมายต่าง ๆ กัน การที่ข้อมูลแสดงความหมายได้จะต้องประกอบ ด้วยส่วนข้อมูลที่พิมพ์บนบัตร กับส่วนข้อมูลที่กรอกเพิ่มเติม ส่วนข้อมูลที่พิมพ์บนบัตรคือส่วนที่อธิบายเนื้อหาลักษณะของข้อมูลที่ต้องการ ทำให้ส่วนข้อมูลที่กรอก เพิ่มเติมคือตัวข้อมูลชัดเจนขึ้น และทำให้ควบคุมการใช้ตัวข้อมูลให ้เกิด ประโยชน์ กว้างขวางขึ้น การจะใช้งานข้อมูลให้ได้ผล จึงต้องมีทั้งตัวข้อมูลและคำอธิบายเนื้อหาลักษณะของข้อมูล

        หากพิจารณาถึงการจัดการข้อมูลจะหมายถึงการจัดเก็บข้อมูล-การเรียกใช้ข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห ข้อมูลเพื่อการใช้งาน ในการเรียกใช้ข้อมูลเมื่อมีคนไข้มาติดต่อ เจ้าหน้าที่ จะต้อง ค้นหาข้อมูลเดิมของคนไข้ ทางหนึ่งที่ทำได้คือตรวจดูข้อมูลบนบัตร แบบฟอร์มทีละใบ ตั้งแต่ใบแรกจนพบ การค้นหาวิธีนี้อาจเสียเวลาบ้าง แต่หากการจัดเก็บข้อมูลมีการจัดเรียงชื่อตามตัวอักษร เช่น ก ข ค... ไว้แล้ว เมื่อทราบชื่อคนไข้และค้นหาตามตัวอักษรก็จะพบข้อมูลได้เร็วขึ้น
         ระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการใช้งานประจำวัน การตัดสินใจของผู้บริหาร จะ กระทำได้รวดเร็ว ถ้ามีข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ จึงมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล เพื่อให้ได ้สาร สนเทศ ดังกล่าว แต่การประมวลผล ด้วยคอมพิวเตอร์จำเป็น ต้องมีหลักการและวิธีการ ที่ทำให้ระบบ มีระเบียบแบบแผนที่ดี

       การเก็บข้อมูลนั้นผู้จัดเก็บจำเป็นต้องทำการแยกแยะ และพยายามหาทางลดขนาด ของข้อมูลให้สั้นที่สุด แต่ให้ได้ ความหมาย ในตัวเองมากที่สุด โดยปกติข้อมูลที่ต้องการเก็บมีเป็นจำนวนมาก เช่น บริษัทแห่งหนึ่งมีข้อมูล เก็บเป็น จำนวน หลายแฟ้ม การเก็บ ข้อมูลจึงจำเป็นต้องแยกกลุ่มออกจากกัน แต่ข้อมูลระหว่างกลุ่มก็อาจจะ มีความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้อง กันได้ ความสัมพันธ์ระหว่าง กลุ่มนี้เองเป็นส่วนที่ทำให้เกิดระบบฐานข้อมูล ซึ่งเป็นศาสตร์ที่จำเป็นต้อง เข้าใจหลักการและวิธีการ เพื่อให้เกิดการเก็บ เรียกหา ค้นหา หรือใช้งานข้อมูลได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีการแยกกลุ่มข้อมูล โดยยึดหลักการพื้นฐานว่าข้อมูลแต่ละกลุ่มจะเป็นสิ่งที่มองเห็นหรือจับต้องได้ เช่น คน สิ่งของ สินค้า สถานที่ ข้อมูลแต่ละกลุ่มที่แยกนี้เรียกว่า เอนทิตี (entity) โดยสรุปเอนทิตี หมายถึง สิ่งที่เราสามารถ มองเห็นภาพลักษณ์ได้ โดยข้อสนเทศของเอนทิตีจะสามารถแยกออกได้เป็นสองส่วน คือ เนื้อหาและข้อมูล

        สำหรับเนื้อหาของเอนทิตีชนิดเดียวกันจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่ส่วนของข้อมูลจะแตกต่างกันออกไป เนื้อหาจึงเป็นส่วน ที่จะบอก รายละเอียดเพื่อขยายข้อมูลให้ได้ความหมายครบถ้วนยิ่งขึ้น พิจารณาจากระบบข้อมูลโดยดูตัวอย่างเอนทิตีของบุคลากรของบริษัทแห่งหนึ่ง ในตาราง


เอนทิตี
เนื้อหา
ข้อมูล
บุคลากร
ชื่อ
นายดำ สะอาดดี
 
อาชีพ
พนักงานขับรถ
 
เพศ
ชาย
 
อายุ
35 ปี
     

          โดยปกติเอนทิตีต่างกันก็จะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น เอนทิตีของบุคลากร จะแตกต่างจากเอนทิตี ของสินค้า ซึ่งมี รายละเอียดตามตัวอย่าง
เอนทิตี
เนื้อหา
ข้อมูล
สินค้า
รหัสสินค้า
0212
 
ชื่อสินค้า
ทรานซิสเตอร์
 
จำนวนสินค้า
100 ตัว
 
ราคาสินค้า
10 บาท

กลับหน้าเมนู