การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย
 
โพรโทคอล (protocol)
                 
คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ
เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่าย ที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้น จึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทรคอลจึงมีลักษณะ
เช่นเดียวกับภาษาภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกัน จึงสาามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
             สำหรับในเครือข่าย โพรโทคอลจะเป็นตัวกำหนดลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการแทนข้อมูล
วิธีการในการรับ-ส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณรับ-ส่ง อุปกรณ์หรือสื่อกลางในการส่งข้อมูล การกำหนดหรือการอ้างอิงตำแหน่ง การตรวจสอบความผิดพลาด
ของข้อมูล รวมถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล
  
      
             มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้
             ในปี ค.ศ.1977  องค์กร ISO  (International Organization for Standard)  ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง  เพื่อทำการศึกษา จัดรูปแบบมาตรฐาน  และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และในปี ค.ศ.1983  องค์กร ISO  ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐาน ในชื่อของ "รูปแบบ OSI"   (Open Systems Interconnection Model)  เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ อักษร "O"  หรือ " Open" ก็หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ  "เปิด" กว้างให้ คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน 
OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันได้

 

             จุดมุ่งหมายของการกำหนดมาตรฐาน OSI นี้ขึ้นมาก็เพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐานของเครือข่ายและกำหนดหน้าที่การทำงานในแต่ละชั้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 7 ชั้น โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดมีดังต่อไปนี้

  1. ไม่แบ่งโครงสร้างออกในแต่ละชั้นจนมากเกินไป
  2. แต่ละชั้นมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน
  3. หน้าที่การทำงานคล้ายกันจะถูกจัดให้อยู่ในชั้นเดียวกัน
  4. เลือกเฉพาะการทำงานที่เคยใช้ได้ผลประสบความสำเร็จมาแล้ว
  5. กำหนดหน้าที่การทำงานเฉพาะง่ายๆ เผื่อว่ามีการออกแบบหรือเปลี่ยนแปลงใหม่ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงตาม
  6. มีการกำหนดอินเตอร์เฟซมาตรฐาน
  7. มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนแปลงโปรโตคอลในแต่ละชั้น
โครงสร้างของสถาปัตยกรรมรูปแบบ  OSI 

สามารถการแบ่งออกเป็น  7  เลเยอร์ และในแต่ละเลเยอร์ได้มีการกำหนดหน้าที่การทำงานไว้ดังต่อไปนี้

       1.เลเยอร์ชั้น  Physical  เป็นชั้นล่างสุดของการติดต่อสื่อสาร  ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง)  ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับเลเยอร์ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector)  เช่น
RS-232-C  มีกี่พิน  (PIN)  แต่ละพินทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์  เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่าง ๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้

       2.  เลเยอร์ชั้น  Data Link  จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือเฟรม  ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับว่าได้รับข้อมูลแล้ว  เรียกว่าสัญญาณ ACK (Acknowledge)  ให้กับผู้ส่ง  แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK  หรือได้รับสัญญาณ NAK (Negative Acknowledge)  กลับมา  ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมูลไปให้ใหม่  อีกหน้าที่หนึ่งของเลเยอร์ชั้นนี้คือ ป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกิดขีดความสามารถขเเครื่องผู้รับจะรับข้อมูลได้

       3.  เลเยอร์ชั้น  Network  เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง  ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะต้องเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า  1  เส้นทาง  ดังนั้นเลเยอร์ชั้น  Network  นี้จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด  และระยะทางสั้นที่สุดด้วย  ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่  4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกจ ๆ
ในชั้นที่  3  นี้
 


       4.  เลเยอร์ชั้น Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจากเลเยอร์ชั้นที่  4  ถึงชั้นที่  7  นี้รวมกันจะเรียกว่า  เลเยอร์  End-to-End ในเลเยอร์ชั้น  Transport  นี้เป็นการสื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์)  กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น  Transport  จะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น  Session  นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่  ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Address)  จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้  เนื่องจากจะต้องรับรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับข้อมูลนั้น

       5.  เลเยอร์ชั้น  Session  ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปใน ระบบ  ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่งของจุดหมายปลายทางที่ต้องการติดต่อสื่อสารด้วย  เลเยอร์ชั้น  Session  จะส่งข้อมูล ทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport  เป็นผู้จัดการต่อไป  ในบางเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session  และเลเยอร์  Transport   อาจจะเป็นเลเยอร์ชั้นเดียวกัน

       6.  เลเยอร์ชั้น  Presentation  ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์  กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text)  และแปลงรหัส  หรือแปลงรูปของข้อมูล ให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน  เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ

       7.  เลเยอร์ชั้น  Application  เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI  ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อกันระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่  โฮสต์คอมพิวเตอร์  เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC  เป็นต้น  แอปพลิเคชันในเลเยอร์ชั้นนี้สารมารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่า จะมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร  เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น Presentation  เป็นผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว  ในรูปแบบ OSI  เลเยอร์นั้น  Application  จะทำการติดต่อกับเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น  โปรโตคอลของในแต่ละชั้นจะแตกต่างกันออกไป  แต่อย่างไรก็ตามการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ 
หลาย ๆ เครื่องจะติดต่อสื่อสารกันได้  ในแต่ละเลเยอร์ของแต่ละเครื่องจะต้องใช้โปรโตคอลแบบเดียวกัน  หรือถ้าใช้โปรโตคอลต่างกันก็ต้องมีอุปกรณ์  หรือซอฟร์แวร์ที่สามารถแปลงโปรโตคอลที่ต่างกันนั้นให้มีรูปแบบเป็นอย่างเดียวกัน  เพื่อเชื่อมโยงให้คอมพิวเตอร์ทั้ง  2  เครื่องสามารถติดต่อกันได้

 
กลับเมนูหลัก