สัญญาณที่ส่งผ่านทางช่องทางการสื่อการ
 

สัญญาณ
             สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภทคือสัญญาณอะนาลอกและสัญญาณดิจิตอล  สัญญาณอะนาลอกเป็นสัญญาณ ที่มีขนาดเป็นค่าต่อเนื่องส่วนสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณ ที่มีขนาดเปลี่ยนแปลง เป็นค่าของเลขลงตัว  โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น  "0"   และ  "1"   หรืออาจจะมีหลายสถานะ  ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องระบบสื่อสารดิจิตอล   มีค่าที่ตั้งไว้ (threshold)  เป็นค่าบอกสถานะ  ถ้าสูงเกินค่าที่ตั้งไว้ สถานะเป็น  "1"  ถ้าต่ำกว่าค่าที่ตั้งไว้  สถานะเป็น  "0" ซึ่งมีข้อดีในการทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง   

                 เนื่องจากสัญญาณรบกวนต้องมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้สถานะจึงจะเปลี่ยน  ตัวอย่างเช่น  ในระบบดิจิตอล  สถานะของข้อมูลเป็น  "0"   สัญญาณรบกวนมีค่า  0.2  โวลต์    แต่ค่าที่ตั้งไว้เท่ากับ  0.5  โวลต์   สถานะยังคงเดิมคือเป็น  "0"  ในขณะที่ระบบอะนาลอก  สัญญาณรบกวนจะเติมเข้าไปใน สัญญาณจริงโดยตรง   กล่าวคือสัญญาณจริงบวกสัญญาณรบกวนเป็นสัญญาณขณะนั้นทำให้สัญญาณรบกวนมีผลต่อสัญญาณ จริงและมีความผิดพลาดเกิดขึ้น 
                 กระแสไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ  หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารโทรคมนาคม  เมื่อกล่าวถึงสัญญาณในเชิงประยุกต์ก็ อาจจะจำแนกในหมวดหมู่นี้ได้  การไหลของไฟฟ้ากระแสตรงในวงจรอย่างสม่ำเสมอไม่สามารถส่งข่าวสารได้  แต่เมื่อไรที่ทำการควบคุมกระแสให้เป็นพัลส์โดยการเปิดสวิตซ์  กระแสจะลดลงสู่ศูนย์และปิดสวิตซ์  กระแสก็จะมีค่าค่าหนึ่ง  พัลส์ของกระแสถูกผลิตตามรหัส ที่ใช้แทนแต่ละตัวอักษรหรือตัวเลย โดยการรวมของพัลส์  การทำงานของสวิตซ์สามารถส่งข้อความใด ๆ ได้  ตัวอย่างที่เห็นได้เสมอได้แก่  รหัสมอร์ส  เป็นต้น  ส่วนไฟฟ้ากระแสสลับในรูปของคลื่นอยู่ในจำพวกคลื่นวิทยมีการใช้งานอย่าง กว้างขวางเป็นที่รู้จักกันดี
ประเภทของการส่งสัญญาณข้อมูล

                การส่งสัญญาณข้อมูลแบ่งออกได้เป็น  2  ประเภทคือ  การส่งแบบขนานและแบบอนุกรม
 
การสื่อสารแบบขนาน (Parallel Transimission)

              การส่งแบบขนานนั้นจะทำการส่งข้อมูลทีละหลาย ๆ บิต  เช่น  ส่ง  10011110  ทั้ง  8 บิต  ออกไปพร้อมกันโดยผ่านสายส่งข้อมูลที่มี  8  เส้น  ส่วนการส่งข้อมูลแบบอนุกรม  ข้อมูลจะถูกส่งออก ไปทีละบิตต่อเนื่องกันไป  เช่นถ้าข้อมูลคือ  10011110  เลข 0  ทางขวามือสุดเป็นบิตที่  1  เรียงลำดับไปจนครบ  8 บิต  โดยการส่งนั้นจะใช้สายส่งเส้นเดียวเท่านั้น  ดังภาพ  แสดงการส่งข้อมูลแบบขนานและแบบอนุกรม  ตัวอย่างการใช้งานที่เห็นชัด ของการส่งข้อมูลแบบขนาน  เช่น  การต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งปกติจะใช้สายยาว  5  เมตร  ถึง  10  เมตรเท่านั้นและตัวอย่างการส่งข้อมูล
แบบอนุกรม  เช่นการต่อเทอร์มินัลเข้ากับคอมพิวเตอร์แม่ที่อยู่ห่างกันสัก  100  เมตร  ซึ่งทำให้ประหยัดสาย
ข้อดี คือ สามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว เพราะส่งครั้งละ  8  บิท
ข้อเสีย คือ ใช่ส่งแต่เฉพาะใกล้ ๆ เท่านั้น   ราคาแพง

การสื่อสารแบบอนุกรม  (Serial Tranmission)

          ในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ จะเห็นว่าการส่งข้อมูลแบบนี้ช้ากว่าแบบขนาน ตัวกลางการสื่อสาร แบบอนุกรมต้องการเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายในสื่อกลางถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสาร ทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้วย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานอย่างแน่นอน
          การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมเสียก่อนแล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ ณ ที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการ เปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานที่ลงตัวพอดี นั่นคือ บิต 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 พอดี การที่จะทำให้ การแปลงสัญญารจากอนุกรม ทีละบิตให้ลงตัวพอดีนั้นจำเป็นจะต้องมีกลไกที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการรับ
 
กลับเมนูหลัก