Computer Technology

ระบบตัวเลขกับรหัสข้อมูล

รหัสข้อมูล (Data Representation) หมายถึง รหัสที่ใช้แทนตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ต่างๆ ที่ประกอบอยู่ในคำสั่ง และข้อมูล เพื่อใช้ในการประมวลผล สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

  • รหัสภายในระบบคอมพิวเตอร์ (Internal Code) เป็นรหัสที่ใช้แทนข้อมูลในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ เช่น
    • รหัส BCD - Binary Code Decimal
    • รหัส EBCDIC - Extended Binary Coded Decimal Interchange Code
    • รหัส ASCII - American Standard Code for Information Interchange
    • รหัส สมอ.
    • รหัส Unicode
  • รหัสภายนอกระบบคอมพิวเตอร์ (External Code) เป็นรหัสที่พัฒนาสำหรับบันทึกข้อมูลนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นรหัสที่ใช้กับบัตรเจาะรู

รหัสภายในคอมพิวเตอร์ แทนได้กับสภาวะของกระแสไฟฟ้า ตามจำนวนสายสัญญาณ เช่น ถ้ามีสายสัญญาณ 2 เส้น ก็สามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลได้ 4 ค่า (คิดจาก 22) คือ

สภาวะไฟฟ้า 2 เส้น รหัสข้อมูล
00
01
10
11

ดังนั้นถ้ามีสายสัญญาณ 8 เส้น ก็สามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลได้ จำนวน 28 = 256 ค่า เป็นต้น

สภาวะไฟฟ้า 8 เส้น รหัสข้อมูล
00000000
00000001
11111111

บิต (Bit)

สภาวะไฟฟ้า 1 เส้น หรือค่า 0 หรือ 1 แต่ละค่าเรียกว่า บิต (Bit) ซึ่งเป็นคำย่อของ "BInary digiT"

ไบต์ (Byte)

กลุ่มของบิตที่มีความหมายเฉพาะเรียกว่า ไบต์ (Byte) ดังนั้นถ้ามีสายสัญญาณ 8 เส้น แสดงว่ามีสัญญาณที่สามารถผสมผสานกันได้ 8 บิต เมื่อนำค่าสัญญาณต่างๆ มาผสมผสานกัน ก็สามารถสร้างรหัสแทนข้อมูลได้ จำนวน 28 = 256 ค่า เป็นต้น ดังตัวอย่างในตารางที่แสดงอักขระ, การเรียงกันของบิต และค่าเลขฐาน 10 ที่แทนอักขระ

Character
Bit pattern
Byte
number
 
Character
Bit pattern
Byte
number
A
01000001
65
10111100
188
B
01000010
66
.
00101110
46
C
01000011
67
:
00111010
58
a
01100001
97
$
00100100
36
b
01100010
98
\
01011100
92
o
01101111
111
~
01111110
126
p
01110000
112
1
00110001
49
q
01110001
113
2
00110010
50
r
01110010
114
9
00111001
57
x
01111000
120
10101001
169
y
01111001
121
>
00111110
62
z
01111010
122
‰
10001001
137

ดังนั้นถ้าต้องการป้อนคำว่า Hello จะมีค่าเท่ากับข้อมูลจำนวน 6 ไบต์ ซึ่งมักจะได้ยินว่า 1 ไบต์ เทียบกับ 1 ตัวอักษรนั่นเอง