รหัสแทนข้อมูล
จากที่กล่าวมาแล้วว่า สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล  การรประมวลผลข้อมูล  ส่วนใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยเพื่อความรวดเร็ว แม่นยำ ดังนั้นข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล จะต้องอยู่ในรูปที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ จึงจำเป็นต้องหาวิธีแทนข้อมูลซึ่งเป็นชุดตัวอักขระ
ปกติการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมี 2 สถานะคือ ปิดและเปิด จึงมีการกำหนดใช้ตัวเลข 0 และ 1 แทนสถานะทั้งสอง และมีการกำหนดรหัสแทนอักขระด้วยชุดของตัวเลขซึ่งประกอบไปด้วยเลข 0 และ 1 ซึ่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง (binary digit)
การจัดเก็บข้อมูลในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์มีหน่วยเล็กที่สุดคือ บิต (bit) ซึ่งสามารถใช้แทนเลขฐานสอง 1 หลัก ไบต์ (byte) ประกอบด้วย 8 บิต ซึ่งแทนเลขฐานสองได้ 8 หลัก หน่วยความจำแต่ละไบต์จะมีหมายเลขกำกับอยู่สำหรับเรียกใช้เรียกว่า เลขที่ตำแหน่ง (address) ข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเปลี่ยนเป็นรหัสเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อใช้ในการประมวลผลต่อไป
รหัสแทนข้อมูลโดยทั่วๆ ไป ที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่ รหัสแอสกี (ASCII : American Standard Code for Information Interchange) และ รหัส เอบซีดิก (EBCDIC : Extended Binary Code Decimal Interchange Code) ส่วนรหัสแทนข้อมูลที่เป็น ตัวเลข หรือ รหัสจำนวนจะมีการกำนดหลายรูปแบบ ตามชนิดของค่าของจำนวนนั้นๆ
เพื่อให้การแทนอักขระต่าง ๆ ด้วยตัวเลขฐานสอง ได้ครบจึงมีการกำหนดให้ใช้ตัวเลขฐานสอง 8 บิต ซึ่งเรียกว่า 1 ไบต์ (byte) แทนอักขระ 1 ตัว เช่น
            0   =   1 บิต (bit)
            1   =   1 บิต (bit)
สามารถนำมาแทนข้อมูล เช่น
01000001   = 1  ไบต์ (byte) ใช้แทนอักษร A
01000010   = 1  ไบต์ (byte) ใช้แทนอักษร B
01000011   = 1  ไบต์ (byte) ใช้แทนอักษร C
ตัวอย่าง คำว่า "CAT" เขียนแทนได้ด้วย
01000011 01000001 01010100
รหัสแอสกี (ASCII)
การกำหนดรหัสแทนข้อมูลขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ รหัสที่ใช้แทนตัวอักขระที่เป็นมาตรฐานแบบหนึ่ง เรียกว่า รหัสแอสกี (American Standard Code for Information Interchange : ASCII) รหัสแอสกีเป็นรหัสที่กำหนดขึ้นโดย หน่วยงานกำหนดมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาใช้กันแพร่หลายกับระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไปและระบบสื่อสารข้อมูล รหัสอักขระแต่ละตัวประกอบด้วย 8 บิต  คือ
บิตที่ 7 6 5 4 3 2 1 0
ตัวเลขฐานสอง  8 บิตหรือ  1 ไบต์ สามารถใช้แทนรหัสต่างๆ ได้ถึง 256 ตัว แต่รหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดมีจำนวนรวมกันไม่เกิน  128 ตัว
ดังนั้นสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสาหกรรมจึงได้กำหนดภาษาไทยเพิ่มเติมเพื่อใช้ในงานสารสนเทศเป็นภาษาไทยได้ เช่น
10100001  = 1 ไบต์ (byte) ใช้แทนตัวอักษร  ก
10100010  = 1 ไบต์ (byte) ใช้แทนตัวอักษร  ข
10100100  = 1 ไบต์ (byte) ใช้แทนตัวอักษร  ค
ตัวอย่าง คำว่า "แดง" เขียนแทนได้ด้วย
11100001 10110100 10100111
รหัสเอบซิดิก (EBCDIC)
รหัสเอบซิดิก (EBCDIC) ย่อมาจาก Extened Binary Coded Decimal Interchange Code เป็นการกำหนดรหัสแทนตัวอักขระที่ใช้กันแพร่หลายอีกแบบหนึ่ง การกำหนดรหัสจะใช้ 8 บิต หรือ 1 ไบต์ต่อ 1 อักขระ เหมือนกับรหัสแอสกีแต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน คือ
บิตที่ 0 1 2 3 4 5 6 7
ตารางแสดงรหัส แอสกี (ASCII Code)

รหัสแอสกี
ASCII code
b7 0 0 0 0 0 0 0 0 1 1 1 1 1 1 1 1
b6 0 0 0 0 1 1 1 1 0 0 0 0 1 1 1 1
b5 0 0 1 1 0 0 1 1 0 0 1 1 0 0 1 1
b4 0 1 0 1 0 1 0 1 0 1 0 1 0 1 0 1
b3 b2 b1 b0                                  
0 0 0 0         0 @ P ? p      
0 0 0 1       ! 1 A Q a q     .ั
0 0 1 0       " 2 B R b r    
0 0 1 1       ? 3 C S c s     .ำ
0 1 0 0       $ 4 D T d t     .ิ
0 1 0 1       % 5 E U e u     .ี
0 1 1 0       & 6 F V f v     .ึ
0 1 1 1       ' 7 G W g w     .ื .็
1 0 0 0       ( 8 H X h x     ํ่`ุ .่
1 0 0 1       ) 9 I Y i y     ู`ู .้
1 0 1 0       * : J Z j z       .๊
1 0 1 1       + ; K [ k ?       .๋
1 1 0 0       , < L   l :       .์  
1 1 0 1       - = M ] m         .ํ  
1 1 1 0       . > N   n            
1 1 1 1       / ? O _ o       ฿