เมนูกิจกรรม 1 2 3 4
ตัวอย่างภาพยนตร์สั้น
แว้นลูกป้อจาย ผะหย๋าของป้อ ปลายรัก
หลักการสร้างภาพยนตร์สั้น
อุปกรณ์สำหรับสร้างภาพยนตร์สั้น  การสร้างภาพยนตร์สั้นในปัจจุบันมีโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ตัดต่อคลิปวิดีโออย่างหลากหลายตั้งแต่ระดับเบื้องต้น ปานกลาง และขั้นสูง ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถ หรือความต้องการของผู้ใช้โดยให้เหมาะสมกับตัวเอง โดยชุดกิจกรรมนี้ ขอยกตัวอย่างซอฟต์แวร์นิยมใช้ และข้อดี ข้อเสียของแต่ละโปรแกรมดังนี้ 1. Window Movie Maker เป็นโปรแกรมที่ติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นการใช้ ข้อจำกัด ของโปรแกรม สามารถ Export ได้แค่ไฟล์ นามสกุล .AVI และ .WMV ใช้พื้นที่จัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์น้อย 2. Corel Video Studio เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายมี Perset สำเร็จรูปให้ใช้หลากหลาย สามารถ Export ได้หลายนามสกุล ใช้พื้นที่จัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ปานกลาง 3. Sony Vegas Pro เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่ได้รับความนิยมมากอีกโปรแกรมหนึ่ง มีการใช้งานที่ยืดหยุ่นมากๆ มีชุด Effect ไว้ให้ใช้งานที่หลากหลาย และรองรับไฟล์วีดีโอได้หลายนามสกุล สามารถ Export ชิ้นงานได้หลายประเภท เช่น mpeg1, mpeg2, mp4 หรือ export ออกมาเฉพาะเสียง mp3 ก็ยังได้เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานตัดต่อมาแล้ว ใช้พื้นที่จัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก 4. Final Cut Studio เป็นโปรแกรมที่นิยมสำหรับมืออาชีพ ใน OS X การใช้งานง่าย มีชุด Effect ให้เลือกใช้มากมาย ตัดต่อวีดีโอได้อย่างรวดเร็ว เป็นโปรแกรมที่ติดมากับเครื่อง Mac ตระกูล Apple ซึ่งราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ค่อนข้างสูง 5. Adobe Premiere Pro โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับมืออาชีพ การใช้งานอยู่ในระดับ กลางถึงสูง ปรับแต่งชิ้นงานได้อย่างละเอียด เก็บรายละเอียดได้ดีที่สุด รองรับไฟล์วีดีโอได้หลายนามสกุล โดยสามารถตกแต่ง แก้ไขภาพ Video ให้สวยงามขึ้นได้ รวมทั้งยังมีลูกเล่น หรือเอฟเฟ็กต์เล็กๆ สำหรับตกแต่งงาน Video ให้ดูน่าสนใจ นอกจากซอฟต์แวร์สำหรับสร้างภาพยนตร์สั้นที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ตัดต่อบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้มีแอปพลิเคชัน (Application) บนสมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตที่ใช้สำหรับตัดต่อวิดีโอแบบง่าย ไม่มีเวลามากพอใน การตัดต่อ หรือไม่ต้องการตกแต่งวิดีโอให้มีความสมบูรณ์แบบมากนัก สามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสีย ค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1. iMovie เป็นแอปพลิเคชันของระบบปฏิบัติการของ IOS ที่มีค่าใช้จ่าย ตัดต่อใช้งานง่าย เลือกฟุตเทจแล้วคัดเอา ช่วงที่ต้องการได้สามารถ เพิ่ม หรือลดความเร็วของวิดีโอได้ ใส่ได้ทั้งวิดีโอ ไตเติล ภาพนิ่ง เสียงบรรยาย ตนตรีประกอบเพิ่ม ความน่าสนใจด้วยการใส่อาร์ตฟิลเตอร์ มีการรองรับวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 4K ตัดเสร็จแล้วสามารถแชร์ออนไลน์ได้เลย 2. Adobe Premiere Clip เป็นแอปพลิเคชันใช้ได้ทั้งของระบบปฏิบัติการของ IOS และ แอนดรอยด์ (Android) ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถสร้างวิดีโอได้ทั้งแบบอัตโนมัติ หรือแบบตัดเอง ลูกเล่นทำได้หลายอย่างไม่แพ้ iMovie ออกแบบมา อย่างเรียบง่าย จัดเรียงคลิปได้ง่ายและสะดวกเพราะมี Thumbnails ให้ดูหากต้องการย้ายตำแหน่งสามารถกดแช่แล้วลาก ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ แก้ไขคุณภาพของวิดีโอได้ทั้งเรื่องของความสว่าง เงา และไฮไลท์ แต่ละคลิปสามารถกำหนดระดับ ความดังของเสียงได้ หรือใส่ Fade in Fade out ได้ เพิ่มอาร์ตฟิลเตอร์ให้วิดีโอได้ ซึ่งมีให้เลือกมากถึง 29 รูปแบบ 3. PinnacleStudio Pro เป็นแอปพลิเคชันของระบบปฏิบัติการของ IOS ที่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นที่นิยมเพราะสามารถ ใช้งานได้ครอบคลุมเหมือนที่ใช้คอมพิวเตอร์ มีการควบคุม Speed Transitions Picture-in-picture Pan-and-zoom ตัดต่อเสียง รวมไปถึงใส่ไตเติลต่างๆ 4. PowerDirector เป็นแอปพลิเคชั่นของระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) ที่มีความสามารถ และฟีเจอร์คล้าย iMovie ออกแบบมาให้ตัดต่อวิดีโอได้รวดเร็ว สามารถตัดวิดีโอสโลโมชั่นที่ถ่ายมาในความเร็ว 140 เฟรมต่อวินาที และรองรับ การตัดวิดีโอความละเอียด 4K 5. VivaVideo: Free Video Editor เป็นแอปพลิเคชันใช้ได้ทั้งของระบบปฏิบัติการของ IOS และ แอนดรอยด์ (Android) ที่ไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นแอปพลิเคชันที่มีความแตกต่างจากแอปพลิเคชันอื่น คือ สามารถใส่สติกเกอร์ รวมถึงเอฟเฟ็กต์ ที่มาในรูปของกราฟิกเคลื่อนไหว แถมยังมีฟังก์ชั่น Capture และ Selfie ที่คุณสามารถถ่ายวิดีโอแล้วเพิ่มเข้าไป ในโปรเจ็กต์ ได้เลย ซึ่งมีเอฟเฟ็กต์แบบเรียลไทม์ให้ใช้หลายอย่าง นอกจากนี้ยังสร้างสไลด์โชว์ได้เพียงไม่กี่คำสั่ง จากซอฟต์แวร์ที่กล่าวข้างต้น ได้เลือกโปรแกรม Adobe Premiere Pro มาใช้ประกอบการสอนกับชุดกิจกรรมบนเว็บ เรื่องการสร้างสรรค์ สื่อประสม เนื่องจากรายวิชา ง30027 การนำเสนอด้วยสื่อประสม หน่วยที่ 2 ได้สอนการใช้โปรแกรม Adobe Premiere Pro และตัวโปรแกรมสามารถนำคลิปวิดีโอ เสียง ดนตรีประกอบมาร้อยเรียงลำดับเรื่องราวไว้ในหน้าต่าง Timeline ที่มีเครื่องมือสำหรับตัดต่อ แก้ไขคลิป มีเอฟเฟกต์ตกแต่งคลิปวิดีโอ และมีการเชื่อมภาพระหว่างวิดีโอที่กำหนด ออบชั่นของเอฟเฟกต์ได้ตามที่ต้องการ เพื่อให้ภาพยนตร์สั้นออกมาอย่างสร้างสรรค์ และสามารถพัฒนาทักษะการตัดต่อ ในระดับที่สูงขึ้นไป เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมี แอปพลิเคชั่น (Application) บนสมาร์ตโฟน หรือแท็บแล็ต ที่สามารถตัดต่อวิดีโอง่ายๆ ได้แล้ว แต่พัฒนาการของแอปพลิเคชั่น (Application) ยังไม่สามารถ นำมาตัดต่อภาพยนตร์สั้นให้มีความสร้างสรรค์ได้ทัดเทียมเท่ากับการตัดต่อด้วยโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในอนาคต เมื่อแอปพลิเคชั่น (Application) มีการพัฒนามากขึ้นอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ผลิตจะนำมาใช้ตัดต่อภาพยนตร์สั้นอย่าง สร้างสรรค์ได้  หลักการสร้างภาพยนตร์สั้น สิ่งสำคัญที่ผู้สร้างภาพยนตร์สั้นจำเป็นต้องเตรียมก่อนเริ่มสร้างภาพยนตร์ มีอยู่ 3 สิ่งนั้น คือ บทบาทหน้าที่ของทีมงาน อุปกรณ์สำหรับสร้างภาพยนตร์สั้น และโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ ซึ่งถ้าหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไป ก็จะทำให้การทำงาน ไม่ราบลื่น และเป็นไปได้ยาก เช่น ถ้ามีทีมงานที่พร้อมจะทำงาน แต่ไม่มีกล้องสำหรับถ่ายทำ ก็จะไม่ สามารถสร้างภาพยนตร์สั้นได้ หรือถ้าหากมีอุปกรณ์ครบถ้วน โปรแกรมตัดต่อที่ดี แต่ขาดผู้สร้างภาพยนตร์สั้นก็จะสร้างออกมา ไม่ได้ ดังนั้น จึงถือ ได้ว่าสามสิ่งนี้ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ การสร้างภาพยนตร์สั้นให้มีคุณภาพได้ บทบาทหน้าที่ของทีมงาน บทบาทหน้าที่ของทีมงานอาจมีหลายตำแหน่งแต่ถ้าหากต้องการสร้างหนังสั้นที่มีขนาดเล็ก อาจจะมีตำแหน่งที่สำคัญอยู่ 5 ตำแหน่ง ดังนี้ 1. ผู้กำกับ (Director) เป็นบุคคลที่สำคัญสำหรับการสร้างภาพยนตร์สั้น เปรียบเสมือนหัวหน้าทีม มีหน้าที่ควบคุม ทุกอย่างตั้งแต่เริ่มคิดงานจนถึงการตัดต่อ ผู้กำกับจะเป็นผู้ตัดสินใจชี้เด็ดขาดว่าถ่ายทำเมื่อไหร่ อย่างไร ที่ไหนรวมถึงคิดมุมกล้อง แบบไหนกับช่างภาพ ผู้กำกับอาจจะทำหน้าที่หลายตำแหน่งก็ได้ เช่น ผู้เขียนบท ผู้ประสานงาน หรือทำงานร่วมกับตำแหน่งอื่นๆ 2. ผู้เขียนบท (Script Writer) มีหน้าที่หาข้อมูลแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นบทภาพยนตร์ที่เล่าเรื่องด้วยภาพและเสียง อีกทั้งยังเป็นผู้เรียบเรียงลำดับเหตุการณ์เรื่องราวและความยาวของภาพยนตร์ ผู้กำกับอาจเป็นผู้เขียนบทเองก็ได้ 3. ช่างภาพ (Camera Man) เป็นตำแหน่งถ่ายภาพตามคำสั่งของผู้กำกับ แต่ต้องมีความชำนาญทั้งศาสตร์ และศิลป์ของ การถ่ายภาพ มีความเข้าใจหลักการวางมุมกล้องการจัดองค์ประกอบของภาพตรงกับความต้องการของผู้กำกับตามบทภาพยนตร์ 4. ผู้ตัดต่อ (Editor) เป็นผู้จัดลำดับภาพและเสียงตามบทภาพยนตร์ โดยผู้ตัดต่ออาจเป็นทั้งผู้ออกแบบกราฟิก เสียง หรือสร้างเสียงด้วยก็ได้ 5. ผู้ประสานงาน (Coordinator) ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานทุกอย่างในกองถ่ายตั้งแต่เอกสารติดต่อ ทำบัญชี ค่าใช้จ่าย ประสานนักแสดงอาจทำหน้าฝ่ายศิลป์ด้วยในตัวเช่น การแต่งตัวนักแสดง หาหรือเตรียมอุปกรณ์ ร่วมกับผู้กำกับ การทำภาพยนตร์สั้น เรื่องสั้นๆ อาจใช้ทีมงานไม่มาก โดยผู้กำกับอาจเป็นทั้งผู้เขียนบท เป็นตากล้องหรือเป็นผู้ตัดต่อเอง ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถความถนัดของแต่ละบุคคล ﷯ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการสร้างภาพยนตร์สั้นเท่าที่จำเป็นจะใช้อุปกรณ์บันทึกภาพ เสียง อุปกรณ์เสริมต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. อุปกรณ์บันทึกภาพที่ใช้กัน คือ กล้องวิดีโอแต่ที่นิยมใช้กันปัจจุบัน คือ กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) ซึ่งเป็นกล้องที่สะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวด้วยระบบดิจิตอล สามารถถ่ายคลิปได้ชัดเจนไม่แตกต่างจากกล้องมืออาชีพรุ่นก่อนๆ และยิ่งไป กว่านั้นถ้าหากถ่ายภาพยนตร์สั้นขนาดเล็กๆ วงการภาพยนตร์สั้นเริ่มนิยมใช้ Smartphone มาใช้ถ่ายทำเนื่องจาก ปัจจุบัน เทคโนโลยีล้ำหน้าไปไกลมากทำให้เครื่องสมาร์ตโฟน สามารถถ่ายคลิปวิดีโอไม่แตกต่างจากกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) Smartphone 2. อุปกรณ์บันทึกเสียง ส่วนใหญ่ใช้ไมโครโฟน ซึ่งมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ในการถ่ายทำภาพยนตร์สั้น ที่ไม่ต้องลงทุน มาก จึงแนะนำอุปกรณ์บันทึกเสียงมาให้นักเรียนได้เรียนรู้ ดังนี้ 2.1 ไมค์บูม คือ ไมค์ที่มีองศาการรับเสียงแคบ เราสามารถเจาะจงเสียงที่เราจะรับได้ เช่น ยื่นไมโครโฟนไปยังนักแสดง หรือตัวละคร จะทำให้เสียงรบกวนรอบข้างเบา หรืออาจแทบไม่ได้ยินโดยจะมีคนถือไมค์บูมต่อก้านยาวยื่นไปทางนักแสดง หรือตัวละคร 2.2 ไมค์หนีบปกเสื้อ คือ ไมโครโฟนอีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ได้ง่ายแค่เพียงหนีบติดกับปกเสื่้อของนักแสดง แต่ถ้าเอาไปใช้กับกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) คงจะลำบากนิดหนึ่งในเรื่องการแสดง เพราะจะเห็นสายไมค์ ติดตามไปมา ซึ่งจะยากลำบากในการถ่ายทำ 2.3 สมาร์ตโฟน ถือว่าเป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถบันทึกเสียงได้ หากเราต้องการผลิตภาพยนตร์สั้น แล้วไม่มี อุปกรณ์บันทึกเสียง เราสามารถนำสมาร์ตโฟนมาประยุกต์ใช้เป็นอุปกรณ์บันทึกเสียง แค่นำสมาร์ตโฟนเก็บไว้ในกระเป๋าเสื้อ หรือใกล้ปากของนักแสดง โดยนักเรียนสามารถศึกษาดูคลิป เรื่อง อุปกรณ์เสียง เพิ่มเติมได้จากคลังสื่อการเรียนการสอน ในกิจกรรมที่ 3 3. อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่จำเป็น 3.1 ขาตั้งกล้อง เป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นมากที่สุด เพราะจะทำให้คลิปที่ถ่ายมามีความคมชัด ไม่สั่นไหว สามารถ ทำการเคลื่อนไหวแบบแพนซ้าย - ขวา และทิลท์ก้ม - เงยกล้อง หากไม่มีขาตั้งกล้องควรหาสิ่งของมาทดแทน เช่น โต๊ะ หรืออย่างอื่นที่ทำให้ถ่ายคลิปได้นิ่งที่สุด 3.2 ดอลลี่ คือ การเคลื่อนที่ติดตามนักแสดง หรือตัวละคร โดยวิธีการใช้จะเป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุ หรือ เรียกว่า Dolly In และการเคลื่อนกล้องออกจากวัตถุ หรือเรียกว่า Dolly Out ซึ่งการดอลลี่ จะคล้ายๆ กับการซูม แต่ความลึก ของภาพจะมากกว่าการซูม หากไม่มีดอลลี่ อาจประดิษฐ์อุปกรณ์ขึ้นมาใช้ หรือ เทคนิควิธีการอื่น ดังตัวอย่างคลิปด้านล่าง 3.3 เครน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายภาพมุมสูง หรือมุมสายตานก (Bird's Eyes View) ถ้าหากผู้กำกับต้องการใช้ภาพมุมสูง ก็สามารถใช้เครนในการถ่ายทำฉากนั้นๆ ได้ หรือหาสถานที่ ที่เหมาะสมการกับถ่ายภาพมุมที่ตากล้องอยู่สูงกว่าวัตถุ หรือ ตัวละคร 3.4 ไฟวิดีโอ (LED Video Light) ไว้ใช้กับกรณีที่ใช้ถ่ายในห้องที่มืด หรือเวลากลางคืน ไฟวิดีโอจะปรับให้บริเวณนั้น มีแสงสว่าง และช่วยให้ใบหน้าของนักแสดงไม่มืดเกินไป นอกจากนี้ ไฟวิดีโอยังสมารถเพิ่มความมีมิติ และบ่งบอกถึงอารมณ์ ของภาพยนตร์ได้อีกด้วย หากเราไม่มีไฟที่ใช้สำหรับในการถ่ายทำที่ราคาแพง ก็อาจใช้ไฟจากโคมไฟทดแทนได้ 3.5 สเลท เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้บอกรายละเอียดของฉากที่ถ่ายทำ เพื่อให้ทราบว่าในซีนนี้ ผู้กำกับเลือกใช้คลิปใด ในอดีตภาพยนตร์ต้องใช้กล้องฟิล์มในการถ่ายทำ ดังนั้น สเลทจึงมีความจำเป็นมากในการตัดต่อ ถ้าหากไม่มีสเลทสามารถ เขียนกระดาน หรือกระดาษ แล้วแบ่งช่องให้เหมือนกับสเลทที่ใช้กันทั่วไปแทนได้ แต่ในปัจจุบัน การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น สามารถใช้กล้องดิจิตอลได้ ทำให้ผู้กำกับสามารถเลือกจดชื่อไฟล์ของคลิปที่เลือกใช้แทนการใช้สเลทได้
ที่มารูปภาพ https://th.wizcase.com/download/windows-movie-maker/ ที่มารูปภาพ https://www.kindpng.com/imgv/biThhb_corel-videostudio-ultimate-corel-paintshop-pro-logo-hd/ ที่มารูปภาพ https://www.pngitem.com/middle/oJmxRo_logo-sony-vegas-png-transparent-png/ ที่มารูปภาพ https://www.pngkit.com/view/u2e6e6w7u2t4u2t4_final-cut-pro-x-logo-final-cut/ ที่มารูปภาพ https://www.logo.wine/logo/Adobe_Premiere_Pro ที่มารูปภาพ http://goodhealthalliance.org/using-imvie/ ที่มารูปภาพ https://iandtrick.com/2020/08/21/adobe-premiere-clip/ ที่มารูปภาพ https://www.pngwing.com/en/free-png-zymbr ที่มารูปภาพ https://matjarapk.com/th/app/powerdirector/com.cyberlink.powerdirector.DRA140225_01 ที่มารูปภาพ https://play.google.com/store/apps/details/VivaVideo_Video_Editor_Video_Maker?id=com.quvideo.xiaoying&hl=th&gl=US  โปรแกรมตัดต่อคลิปวิดีโอสำหรับสร้างภาพยนตร์สั้น
 การสร้างภาพยนตร์สั้นให้มีคุณภาพ ต้องอาศัยการเตรียมการสร้างที่ดีอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์และ ความชำนาญในการทำภาพยนตร์สั้นของทีมงานด้วย ดังนั้น ทีมงานทุกคนต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตนเอง ให้มีประสิทธิภาพ เช่น ผู้กำกับต้องมีความชำนาญในด้านการตีความหมายบทภาพยนตร์ให้เข้าใจลึกซึ้ง ด้านการควบคุม ขนาดภาพ และมุมกล้องที่ถูกต้อง อีกทั้งยังต้องมีความรู้ด้านการตัดต่อ เป็นต้น ถ้าหากทีมงานทุกหน้าที่มีความชำนาญและ มีการเตรียมวัสดุ - อุปกรณ์ให้พร้อมอยู่เสมอ ภาพยนตร์ที่ได้จึงจะมีคุณภาพและน่าติดตาม
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.