การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น  การถ่ายทำ เป็นขั้นตอนการผลิต (Production) ตามบทภาพยนตร์ที่ทีมงานเตรียมไว้ อาจมีการถ่ายทำยังสถานที่ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ประกอบฉากให้เรียบร้อย ก่อนถ่ายทำควรรู้จักคำศัพท์ที่ใช้ใน การถ่ายทำ ดังต่อไปนี้
คำศัพท์ที่ใช้ในการบันทึก
คำศัพท์ที่ใช้ในการบันทึก
 ช็อต (Shot) หมายถึง ลักษณะภาพที่เกิดจากการถ่ายภาพ ตั้งแต่เริ่มถ่าย ไปจนถึงการหยุดการเดินกล้อง เรียกว่า 1 ช็อต หรือ 1 Take ซึ่งอาจมีการถ่ายภาพซ้ำกันมากกว่า 1 ครั้ง ในช็อตเดียวกัน และ ถ้าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง เราสามารถ ถ่ายใหม่ได้ ซึ่งเราเรียกว่า ถ่ายซ้ำ (Retake) ข้อดีของการบันทึกเป็นซ็อต โดยซ็อตมุมกว้าง คือบอกให้รู้ สถานที่ และให้ได้รู้ว่าเป็นงานอะไร สถานที่ไหน เป็นการ ถ่ายที่มี เรื่องราว บอกเล่าเรื่องตามลำดับขั้น ว่ามีใครทำอะไรบ้าง ภาพจะมี การสลับมุมต่างๆ มาให้ชมเพื่อความไม่น่าเบื่อ ฟุตเทจ (Footage) โดยทั่วไป เมื่อพูดถึง Video Clip จะหมายถึง การผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่ทำให้ได้วิดีโอที่สมบูรณ์แล้ว
3 4 1 2 เมนูกิจกรรม
การเคลื่อนกล้อง แบบมีอุปกรณ์เสริม การเคลื่อนกล้อง แบบไม่มีอุปกรณ์เสริม การใช้สมาร์ตโฟนถ่ายคลิป เทคนิคการใช้สมาร์ตโฟนถ่ายคลิป อุปกรณ์เสียง การกำกับภาพยนตร์ คลังสื่อการเรียนรู้
อย่างเช่นถ้า จำเป็นต้องตัดต่อก็ตัดต่อเรียบร้อย ใส่เสียงประกอบเรียบร้อย ฯลฯ เป็นต้น ในขณะที่ Footage คือ ภาพบันทึก ต้นฉบับที่ยัง ไม่ได้ผ่านขั้นตอนใดเลย ซึ่งการตัดต่อต้องนำหลายๆ Footage มาตัดต่อแล้วจึงได้เป็น Video Clip ซีน (Scene) หมายถึง สถานที่ (Place) ที่จัดขึ้น หรือดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการแสดง เพื่อการถ่ายทำ หรือ การนำ เอาช็อตหลายๆ ช็อตมารวมกันซึ่งเป็นช็อตที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน หรือมีความต่อเนื่องทาง เนื้อหา ซึ่งในแต่ละซีน อาจมีหลายช็อต หรือช็อตเดียวก็ได้ (Long Take) ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้ชม ซีเควนซ์ (Sequence) หมายถึง ตอน หรือช่วงเหตุการณ์หนึ่ง เป็นการรวบรวมเอาฉากหลายๆ ฉากที่มีความ สัมพันธ์กัน มาต่อเนื่องกันเข้า และเมื่อรวมต่อเข้ากันแล้วจะเกิดผลสมบูรณ์ของเนื้อหาอยู่ในตัวเอง สามารถจบเหตุการณ์ ในช่วงนั้นๆ ลงโดยที่ผู้ชมเข้าใจได้ ซึ่งในซีเควนซ์หนึ่งๆ อาจประกอบด้วยซีนเดียว หรือหลายซีนได้ อีกทั้งเวลาถ่ายทำควรมี การจัดหมวดหมู่ซีเควนซ์ทุกครั้ง ความยาวของแต่ละช็อต อาจจะเป็นแค่ 2 วินาที ไปจนถึง 30 วินาที ไม่มีกฏตายตัวแน่นอน เกี่ยวกับความยาวในแต่ ละช็อต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการแสดง (Action) และคำบรรยายช็อตที่มีรายละเอียด และมีกิจกรรมมากอาจต้องใช้เวลานานกว่า ช็อตที่อยู่นิ่งๆ ดังนั้น จึงควรกำหนดเวลาในแต่ละช็อต ให้ยาวนานพอที่จะเสนอแนวความคิดและข้อมูล แต่ไม่ควรยาวนาน เกินไปจนดูน่าเบื่อ
เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์
1. กล้องต้องนิ่ง ภาพคมชัด การถ่ายวิดีโอต่างๆ ความนิ่งของคลิป ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะ วิดีโอที่นิ่ง ไม่กระตุก ช่วยให้คลิปดูลื่นไหล เพลิดเพลิน เสมือนเป็นการถ่ายทำจากทีมงานมืออาชีพ โดยวิธีการทำให้คลิปนิ่งนั้นไม่ยากเลย เพียงแค่ใช้ขาตั้งกล้องทุกครั้ง ที่ถ่ายก็ทำให้คลิปนิ่งได้แล้ว นอกจากนี้ ไม่ควรเคลื่อนไหวกล้องไวมากเกินไป เพราะ กล้องอาจโฟกัสไม่ทัน ทำให้ภาพเบลอได้ 2. เสียงต้องชัดเจน ไร้เสียงรบกวน เมื่อเราต้องการถ่ายฉากที่ต้องบันทึกเสียงไว้ด้วย เช่น ฉากที่มีการสนทนากัน เป็นต้น ก็ควรใช้ไมโครโฟนในการบันทึก หรือถ้าหากไม่มีไมโครโฟน ก็สามารถใช้สมาร์ตโฟนบันทึกเสียงแทนก่อนได้ นอกจากนี้ ในการถ่ายทำ ไม่ควรเลือกสถานที่ ที่มีลมแรง หรือเสียงดังมากเกินไป เช่น บริเวณข้างถนน เป็นต้น เพราะ เสียงเหล่านั้นจะกลายมาเป็นเสียงรบกวน (Noise) ในคลิปของเรา แต่ถ้าหากถ่ายทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว คลิปยังติดเสียงรบกวนอยู่ไม่มากเกินไป สามารถนำไปตัดเสียงรบกวนได้ ด้วยโปรแกรม Adobe Audition
3. การเลือกใช้มุมกล้องให้เป็น การใช้มุมกล้องสื่อสารกับคนดู จะเป็นการช่วยให้คนดูเข้าใจ และเข้าถึงในสิ่งที่ต้องการจะสื่อมากยิ่งขึ้น โดยมุมกล้อง แต่ละมุมจะส่งผลต่อความรู้สึกแตกต่างกันไป เช่น การถ่ายมุมต่ำหรือมุมหนอน จะทำให้รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ อลังการของวัตถุ ส่วนการถ่ายมุมสูงหรือมุมนก จะให้ความรู้สึกตกต่ำ สิ้นหวัง เป็นต้น ดังนั้น ควรเลือกใช้มุมกล้องให้เป็น ภาพยนตร์ของเรา จึงจะเข้าถึงคนดูมากยิ่งขึ้น
ภาพมุมหนอน ทำให้รู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของครูบาเจ้าศรีวิชัย 4. การใช้ Lens Flare ช่วยดึงดูด เมื่อเราต้องการถ่ายสถานที่ วิว ทิวทัศน์ หลายคนอาจจะต้องพบปัญหาเกี่ยวกับแสงจากดวงอาทิตย์ที่ไม่เป็นใจ จึงจำ เป็นต้องมีการถ่ายย้อนแสงบ้าง ซึ่งการถ่ายย้อนแสงนั้น เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิด Lens Flare ที่ไม่น่าชอบใจสำหรับใครๆ โดย วิธีการป้องกันไม่ให้เกิด Lens Flare นั่นคือการใส่ Hood ให้กับเลนส์ แต่ถ้าหากไม่มี Hood ก็สามารถพลิกวิกฤตให้เป็น โอกาสได้ เพราะ Lens Flare หากไม่ได้อยู่ตรงจุดเด่นของภาพก็ดูสวย และน่าสนใจได้เช่นกัน วิธีการถ่ายให้ติด Lens Flare คือ ตั้งกล้องตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หรืออาจจะตั้งดวงอาทิตย์ไว้ตรงขอบของเฟรม ก็สามารถเกิด Lens Flare ได้ จัดองค์ประกอบของฉากให้สวยงาม แล้วตั้งค่า f ให้แคบมากๆ จะทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ แตกเป็นแฉก ดูสวยงามมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง Hood จาก https://www.dpreview.com ตัวอย่าง Lens Flare
5. การใช้แสงไฟเข้าช่วย ในบางครั้งเราอาจต้องถ่ายคลิปอาหาร หรือสิ่งต่างๆ ที่จัดวางไว้นิ่งๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งอาจทำให้คลิปของเรา ดูธรรมดา ดังนั้น การใช้แสงไฟสาดส่องไปยังวัตถุของเรา แล้วเคลื่อนไหวแสงไฟไปด้วย จะช่วยให้คลิปของเราดูโดดเด่น และ น่าสนใจได้ โดยสามารถดูตัวอย่างได้จากภาพเคลื่อนไหวด้านล่าง
 นอกจากแสงไฟจะช่วยสร้างความโดดเด่นให้กับคลิปได้แล้วนั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการถ่ายทำเวลากลางคืน หรือฉากย้อนแสงด้วย เพราะ ฉากกลางคืนที่มืดเกินไป อาจทำให้ไม่เห็นองค์ประกอบของหลายๆ อย่าง และเกิดจุดสีขึ้น บนภาพ (Noise) ดังนั้น จึงควรใช้แสงไฟสาดส่อง เพื่อให้เห็นองค์ประกอบของภาพชัดขึ้น และลดจุดสีให้น้อยลงหรือหายไป โดยการจัดแสงไฟในบทเรียนนี้จะนำเสนอ การจัดแสงไฟ 3 จุด (3 Point Lighting) ได้แก่ 1. Key Light จะเป็นแสงไฟหลักที่ใช้สาดส่องวัตถุ หรือตัวละครแบบตรงๆ 2. Fill Light เป็นแสงที่ใช้ส่องเพิ่มในส่วนที่วัตถุ หรือตัวละครยังมืดอยู่ ให้เห็นองค์ประกอบชัดยิ่งขึ้น 3. Back Light เป็นแสงที่อยู่ด้านหลังวัตถุ หรือนักแสดง จะวางตรงข้ามกับ Fill Light ซึ่งช่วยทำให้วัตถุ หรือนักแสดง ดูมีมิติมากยิ่งขึ้น นอกจากการจัดแสงไฟแบบ 3 จุด นี้แล้ว ยังนิยมใช้ Background Light ซึ่งเป็นแสงที่ช่วยเพิ่มความสว่าง ให้กับพื้นหลังของวัตถุ หรือตัวละคร ทำให้เห็นรายละเอียดของฉากหลังมากขึ้น 6. การหมุนกล้อง 360 องศา เมื่อเราต้องการถ่ายคลิปที่เน้นองค์ประกอบของสถานที่รอบข้าง และนักแสดงไปพร้อมๆ กัน อาจเลือกใช้เทคนิคการ หมุนกล้องไปรอบๆ หรือ 360 องศา ในมุมสูงหรือมุมระดับสายตา โดยให้นักแสดงเดินหมุนรอบตัวให้พร้อมกับกล้อง โดย สามารถดูตัวอย่างได้จากภาพเคลื่อนไหวด้านล่าง
7. ใช้ความต่อเนื่องเชื่อมช็อต แบบมุมชนมุม การดำเนินเรื่องในแต่ละครั้ง อาจมีบางฉากที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเรื่อง เพราะจะทำให้เรื่องราวดูยืดเยื้อ ดังนั้น ผู้ตัดต่อจึงควรนำเทคนิคการเชื่อมช็อตมาใช้ โดยอาศัยความเหมือนทั้งลักษณะ ท่าทาง และตำแหน่งของวัตถุ หรือตัวละคร ภายในฉาก 2 ฉาก ดังภาพด้านล่าง ที่ตัวละครยืนอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกัน มุมกล้องใกล้เคียงกัน และทำท่าทางเหมือนกัน ก็สามารถเชื่อมช็อตกันได้ ถึงแม้ว่าจะยืนที่สถานที่ต่างกัน ทำให้ภาพยนตร์ไม่น่าเบื่อ และประหยัดเวลาได้
 การเชื่อมช็อตในลักษณะนี้ ต้องอาศัยความแม่นยำของมุมกล้อง ถ้าหากวางแผนไม่ดี อาจทำให้เกิดภาพกระตุก ไม่ต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า ภาพกระโดด (Jump Cut) ได้ 8. ระวังอย่าให่อวัยวะของตัวละครหลุดเฟรม ในการถ่ายทำ ตากล้องต้องพยายามอย่าให้อวัยวะของตัวละครหลุดเฟรม เช่น ศีรษะของตัวละครที่กำลังยืนอยู่ หลุดเฟรม หรือเห็นใบหน้าของตัวละครอีกตัวเพียงครึ่งซีก เป็นต้น ซึ่งถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวละครขาดหายไป จะทำให้ ฉากนี้เป็นฉากที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ตากล้องต้องสังเกตดูเฟรม และองค์ประกอบของภาพเสมอ
9. อย่าถ่ายล้ำเส้น 180 องศา ในขั้นตอนการถ่ายทำ ผู้กำกับจะสั่งให้ตากล้องถ่ายฉากนั้นไว้หลายมุม เพื่อที่ผู้ตัดต่อจะต้องใช้มุมกล้องที่แตกต่างกัน มาต่อช็อตกันให้ภาพยนตร์ไม่น่าเบื่อ ซึ่งการถ่ายทำนั้น มุมกล้องของแต่ละช็อตไม่ควรแตกต่างกันเกิน 180 องศา และมักจะ น้อยกว่า 45 องศา เมื่อถ่ายบุคคลเดียวกัน เพราะ ถ้าหากตัดต่ออกมา อาจทำให้ผู้ชมสับสนในตำแหน่งของตัวละคร ซึ่งอาจ ปรับเปลี่ยนได้ตามประสบการณ์ทำงานของผู้กำกับ และทีมงาน
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.