3 4 1 2 เมนูกิจกรรม
การเคลื่อนกล้อง แบบมีอุปกรณ์เสริม การเคลื่อนกล้อง แบบไม่มีอุปกรณ์เสริม การใช้สมาร์ตโฟนถ่ายคลิป เทคนิคการใช้สมาร์ตโฟนถ่ายคลิป อุปกรณ์เสียง การกำกับภาพยนตร์ คลังสื่อการเรียนรู้
อุปกรณ์เสียง  ในการถ่ายทำภาพยนตร์สั้นนั้น เสียง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ภาพยนตร์ของเราน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณภาพ เสียงจะส่งผลต่อการเล่าเรื่องในของเรา ถ้าหากเสียงเบาเกินไป ผู้ชมก็จะไม่ได้ยิน ส่วนเสียงที่ดังมากเกินไป เสียงก็จะแตกพร่า ปัญหาเหล่านี้ เป็นเหตุให้ฝ่ายตัดต่อต้องหาวิธีแก้ไขอยู่เสมอ และในบางครั้งอาจไม่สามารถแก้ไขได้ ทำให้จำเป็นต้องใช้วิดีโอ ที่เสียงไม่มีคุณภาพ หรืออาจต้องยอมเสียเวลา เสียค่าใช้จ่าย เพื่อไปถ่ายทำฉากนั้นใหม่อีกครั้ง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือพยายาม บันทึกเสียงที่มีคุณภาพดีให้ได้ในขณะถ่ายทำ แต่เสียงที่ได้จากกล้องโดยตรงยังมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องใช้ อุปกรณ์เสียงเข้ามาช่วย โดยอุปกรณ์เสียงมีหลากหลาย สามารถเลือกใช้ได้ ดังนี้
คลิปวิดีโอ เรื่อง อุปกรณ์เสียง 1. ไมค์บูม (ฺBoom Microphone) ไมค์บูม เป็นอุปกรณ์เสียงที่มีความสำคัญและนิยมใช้ในการถ่ายทำมากที่สุด เนื่องจากเป็นไมค์ที่ต่อก้านยาวไปหา นักแสดง สามารถรับเสียงได้อย่างชัดเจนและรอบทิศทาง นอกจากนี้ ยังสามารถตัดเสียงรอบข้างที่สอดแทรกเข้ามาได้ ด้วยการนำฟองน้ำหรือขนฟู่ๆ ที่เรียกกันว่า Windshield มาครอบไว้ที่ไมค์ ซึ่งฟองน้ำ และ Windshield จะทำหน้าที่เป็น Passive Noise Cancelling ช่วยลดเสียงรบกวนในรูปแบบของ Surrounding ก็คือลดเสียงรอบข้างต่างๆ เช่น เสียงรถ ขับผ่านไกลๆ เสียงคนพูดกันอยู่ไกลๆ เสียงลมพัด เป็นต้น แต่ไมค์บูมเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และมีข้อควรระวัง คือต้อง ระวังไมค์บูม หรือเงาของไมค์ติดเข้าไปในฉากด้วย หลักการถือไมค์บูมให้ได้เสียงที่มีคุณภาพดี คือการถือก้านยาว แล้วพยายามให้ไมค์โน้มหักลงเหนือหัวนักแสดง ดังภาพด้านล่าง การถือไมค์บูมลักษณะนี้ จะทำให้ไมค์สามารถดูดเสียงจากนักแสดงได้ดีที่สุด
2. ไมค์ช็อตกัน (Shotgun Microphone) เป็นไมโครโฟนที่สามารถรับเสียงได้เพียงส่วนหัวของไมค์ แต่ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี เพราะเสียงที่ได้รับ มีความชัดเจน และสามารถลดเสียงรบกวนภายนอกได้ดี นิยมใช้ในการถ่ายทำภายนอก เพราะสามารถรับเสียงคนพูดได้ดี หากผู้สร้างภาพยนตร์สั้นต้องการจำกัดงบประมาณ ก็สามารถใช้ไมค์ช็อตกันทดแทนการใช้ไมค์บูมได้ ไมค์ช็อตกันสามารถนำไปต่อก้านยาวได้เช่นเดียวกับไมค์บูม และหลักการถือไมค์ช็อตกันก็เหมือนกับไมค์บูม นอกจากนี้ ไมค์ช็อตกันยังสามารถเป็นไมค์ที่ใช้ติดกับตัวกล้องได้อีกด้วย แต่การนำไมค์ไปติดกับกล้องควรใช้ในการถ่ายทำ ในลักษณะที่นักแสดงอยู่ใกล้กับกล้อง จึงจะทำให้ได้เสียงที่ชัดเจน
3. ไมค์หนีบปกเสื้อ (Lavalier Microphone) ไมค์หนีบปกเสื้อ เป็นไมค์ที่สามารถใช้ติดกับเสื้อผ้าของนักแสดงได้ รวมถึงสามารถรับเสียงได้รอบทิศทาง มีข้อดีคือ แม้ว่าผู้แสดงจะอยู่ห่างจากกล้อง แต่ก็ยังสามารถบันทึกเสียงได้อย่างชัดเจนและใกล้ชิด ซึ่งไมค์หนีบปกเสื้อ สามารถนำสาย ของไมค์มาเสียบกับกล้องหรือเสียบกับสมาร์ตโฟนโดยตรง ซึ่งก็จะได้เสียงที่มีคุณภาพดี แต่เนื่องจากไมค์หนีบปกเสื้อสามารถ รับเสียงได้รอบทิศทาง จึงทำให้เกิดเสียงรบกวนได้ง่ายและไม่สามารถพูดไกลจากไมค์มากๆ ได้
 ไมค์หนีบปกเสื้อ หากนำไปติดกับตัวรับ - ส่งสัญญาณเสียงแบบ Wireless จะช่วยให้สามารถบันทึกเสียงได้แบบไร้สาย วิธีการใช้งานคือ นำไมค์ไปหนีบติดกับเสื้อผ้าของนักแสดง แล้วเสียบสายไมค์กับตัวส่งสัญญาณให้นักแสดงเก็บไว้ ส่วนฝ่าย บันทึกเสียงจะมีตัวรับสัญญาณแล้วส่งเข้าเครื่องอัดเสียง (Recorder) อีกที ดังภาพด้านล่าง
ขอขอบคุณภาพจาก Rocket Jump Film School 4. สมาร์ตโฟน (Smartphone) ถ้าหากเราไม่มีอุปกรณ์บันทึกเสียงที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ก็สามารถบันทึกเสียงที่มีคุณภาพได้ด้วยสมาร์ตโฟนที่เรามีอยู่ ซึ่งมีข้อดีก็คือ พกพาสะดวกและทุกๆ คนก็สามารถทำได้เหมือนกัน แต่มีข้อจำกัดก็คือ ได้เสียงที่ไม่ชัดเจนเท่ากับอุปกรณ์เสริม ตัวอื่นๆ
ข้อแนะนำสำหรับการบันทึกเสียง : ในการเลือกสถานที่ถ่ายทำ ควรเลือกสถานที่ ที่มีเสียงรบกวนน้อย เช่น ไม่ควรถ่ายทำในที่มีรถ หรือ ผู้คนพลุกพล่าน เพราะถ้าเลือกสถานที่ที่มีเสียงรบกวนมาก ก็จะมีเสียงรบกวนภายในฟุตเทจของเรา ทำให้ฟุตเทจมี คุณภาพเสียงไม่เหมาะสมกับการตัดต่อและฝ่ายตัดต่อ ต้องเสียเวลาแก้ไขปัญหาอีกด้วย แต่หากมีความจำเป็น ต้องถ่ายทำสถานที่นั้นจริงๆ ก็อาจเลือกใช้วิธีการ พากย์เสียงใส่ทีหลังแทนการบันทึกเสียงขณะถ่ายทำ ซึ่งมีคุณภาพดีมากกว่า
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.