3 4 1 2 เมนูกิจกรรม
การเคลื่อนกล้อง แบบมีอุปกรณ์เสริม การเคลื่อนกล้อง แบบไม่มีอุปกรณ์เสริม การใช้สมาร์ตโฟนถ่ายคลิป เทคนิคการใช้สมาร์ตโฟนถ่ายคลิป อุปกรณ์เสียง การกำกับภาพยนตร์ คลังสื่อการเรียนรู้
การเคลื่อนกล้อง (Camera Movement)  การเคลื่อนกล้อง คือ การเคลื่อนไหวกล้องในขณะที่กำลังทำการบันทึกวิดีโอ โดยอาจเรียกได้ว่าเป็นเทคนิคหนึ่งใน การถ่ายทำภาพยนตร์สั้น เพราะการเคลื่อนกล้องนั้น ช่วยทำให้วิดีโอของเรามีการเคลื่อนไหว ซึ่งคงดูน่าสนใจมากกว่าวิดีโอ ที่อยู่กับที่เพียงอย่างเดียว
คำศัพท์ที่ใช้ในการเคลื่อนกล้อง
 การแพน (Pan หรือ Panning Shot) คือ การเคลื่อนกล้องบนขาตั้งกล้องในแนวราบ จากซ้ายไปขวาหรือขวาไป ซ้าย โดยส่วนใหญ่แล้วการแพน มักจะใช้เพื่อรักษาการเคลื่อนไหวของตัวละครให้อยู่ในกรอบภาพ การทิลท์ (Tilt หรือ Tilt Shot) คือ การเคลื่อนกล้องบนขาตั้งกล้องในแนวฉาก จากล่างขึ้นบนหรือบนลงล่าง โดยการทิลท์มักใช้เพื่อรักษาการเคลื่อนไหวของตัวละครที่อยู่ในกรอบภาพเช่นเดียวกับการแพน ใช้เพื่อเปิดเผยความจริง บางอย่าง หรือใช้เพื่อแทนสายตาของตัวละครขณะที่มองขึ้นลง การซูม (Zoom) คือ การทำให้มุมของภาพเปลี่ยนไปตามความยาวโฟกัสของเลนส์ การซูมมักใช้เมื่อต้องการเน้น วัตถุนั้นๆ ให้โดดเด่น แต่ในการถ่ายทำ ไม่ควรมีการซูมเข้าออกที่รวดเร็ว และมากเกินไป เพราะจะทำให้คลิปที่ได้ออกมา มองดูสับสน และไม่สามารถนำไปต่อกับซีนอื่นๆ ได้ โดยการซูมแบ่งเป็น การ Zoom In การทำให้วัตถุมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยการปรับความยาวโฟกัสให้ยาว การ Zoom Out การทำให้วัตถุมีขนาดเล็กลง โดยการปรับความยาวโฟกัสให้สั้น การดอลลี่ (Dolly หรือ Dolly Shot) คือ การเคลื่อนกล้องเข้าหาหรือถอยออกห่างจากวัตถุ ซึ่งปกติแล้วจะต้อง ใช้ควบคู่กับรางเลื่อนหรือรางดอลลี่ การเคลื่อนกล้องแบบดอลลี่สามารถใช้เพื่อติดตามตัวละคร หรือเพื่อแทนสายตาของ ตัวละครขณะเคลื่อนไหว และจะช่วยทำให้ภาพที่ได้ดูมีมิติมากยิ่งขึ้น โดยการดอลลี่จะแบ่งเป็น การ Dolly In หรือ การเคลื่อนกล้องเข้าหาวัตถุ การ Dolly Out คือ การเคลื่อนกล้องออกจากวัตถุ การแทรคกิ้ง (Tracking Shot) คือ การเคลื่อนกล้องไปด้านซ้ายหรือขวา โดยใช้รางดอลลี่เป็นอุปกรณ์สริม เพื่อให้กล้องขนานกับวัตถุ การแทรคจะคล้ายกับการแพน แต่การแทรคจะให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเคลื่อนผู้ชมให้เคลื่อนที่ เพราะฉากจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนกล้อง ในปัจจุบันการดอลลี่กับการแทรคกิ้ง อาจเรียกรวมๆ กันได้ว่าเป็น "การดอลลี่" แฮนด์เฮลด์ช็อต (Hand – Held Shot) เป็นการเคลื่อนกล้องที่ส่วนใหญ่ใช้วิธีแบกขึ้นบ่า ของตากล้อง หรือการถือกล้องด้วยมือแล้วถ่ายโดยไม่มีอุปกรณ์เสริม ซึ่งการถ่ายแบบแฮนด์เฮลด์ช็อต จะให้ได้วิดีโอที่สั่นไหว กระตุก ไม่นุ่มนวลเหมือน การเคลื่อนกล้องแบบอื่นๆ โดยการเคลื่อนกล้อง ลักษณะนี้ มักถูกนำไปใช้แทนสายตาของตัวละครในขณะที่กำลังต่อสู้ จะช่วยทำให้คนดูมีความรู้สึก ว่าอยู่ในเหตุการณ์ร่วมกับตัวละครจริงๆ แต่ปัจจุบัน การเคลื่อนกล้องแบบแฮนด์เฮลด์ช็อท มีอุปกรณ์ที่ชื่อว่า Steadicam มาช่วย ทำให้กล้องมีการเคลื่อนไหวที่ง่ายขึ้น และวิดีโอที่ได้ออกมามีความนุ่มนวล ราบรื่นมากยิ่งขึ้น การเครน (Crane Shot) คือ การเคลื่อนกล้องเหนือระดับพื้นดิน อาจเรียกได้ว่า เป็นการเครนแทรคกิ้ง เพราะสามารถเคลื่อนกล้องได้หลายทิศทาง ซึ่งส่วนมากมักเคลื่อนใน ทิศทางขึ้น หรือลง แต่บางครั้งอาจมีการเคลื่อนเป็นแนวทแยง เคลื่อนเข้าหา เคลื่อนถอยออก หรือผนวกการเคลื่อนหลายๆ แนวเข้าด้วยกัน วิดีโอที่ได้การเครนจะให้ความรู้สึกที่ดูสง่า ตรึงความสนใจของคนดู ข้อแนะนำ : การเคลื่อนกล้องทุกรูปแบบควรกดบันทึกวิดีโอแล้วทิ้งไว้สักครู่ จึงเริ่มทำการเคลื่อนกล้อง จากนั้นก็ ปล่อยให้วีดิโอบันทึกอีกสักครู่จึงกดปุ่มหยุดบันทึก ถ้าหากไม่ทำเช่นนี้ ในช่วงของการตัดต่อจะเกิดปัญหาในการตัดได้
ตัวอย่าง Steadicam จาก http://www.kamlangniyom.com/

 

การเคลื่อนกล้องด้วยการใช้อุปกรณ์เสริม
คลิปวิดีโอ เรื่อง การเคลื่อนกล้องด้วยการใช้อุปกรณ์เสริม 1. การใช้ขาตั้งกล้อง (Tripod) ขาตั้งกล้อง เป็นอุปกรณ์เสริมที่มีความสำคัญและนิยมใช้มากที่สุด เนื่องจาก ขาตั้งกล้องช่วยทำให้วิดีโอที่ถ่าย ออกมานั้นนิ่งและไม่สั่นไหว นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการแพน ทิลท์ได้อีกด้วย
2. การใช้ดอลลี่ (Dolly) ดอลลี่ เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับรางเลื่อน ใช้สำหรับการเคลื่อนกล้องแบบดอลลี่ และแทรคกิ้ง ช่วยให้วิดีโอมี ความนิ่ง ทั้งที่เคลื่อนกล้อง ขณะบันทึกวิดีโอ โดยดอลลี่จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ 3 ชิ้น ได้แก่
 1. รางดอลลี่ (Dolly Slider) คือ ส่วนที่ใช้เลื่อนไปมา เพื่อเคลื่อนกล้อง 2. หัวบอล คือ ส่วนที่อยู่ระหว่างรางดอลลี่กับกล้อง 3. ขาตั้ง โดยขาตั้งตัวนี้ จะมีไว้สำหรับตั้งราง เพื่อการดอลลี่บนโต๊ะ หรือบนพื้นแต่ถ้าหากต้องการดอลลี่ที่มีความสูงเพิ่มขึ้นก็สามารถนำขาตั้งกล้องสองตัวมาติดตั้งที่หัวกับท้ายราง แทนขาตั้งรางได้
3. การใช้เครน (Crane) เครนเป็นการเคลื่อนกล้องรูปแบบหนึ่งที่มีความยุ่งยากในการถ่ายทำ เพราะต้องมีการประกอบอุปกรณ์ของเครนให้ สมบูรณ์ก่อนการใช้เครน ดังนั้น ผู้กำกับต้องตัดสินใจว่าต้องการฉากที่ใช้เครนมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับเงิน และเวลาที่เสียไป หรือไม่ วิธีการติดตั้งเครน คือ นำตัวเครนมาประกอบเข้ากับขาตั้งกล้อง จากนั้นจึงนำกล้องมาติดตั้ง แต่ด้วยความหนักของ กล้อง จึงทำให้น้ำหนักของเครนไม่สมดุล วิธีแก้ปัญหาคือ นำถุงทรายหรือขวดน้ำมามัดห้อยไว้ที่ปลายเครนอีกด้านถ่วงน้ำหนัก จนกว่าเครนจะสมดุล แล้วจึงทดลองใช้งาน หากวิดีโอที่ได้นิ่มนวลตามที่ต้องการ ไม่มีการแกว่งหรือส่ายก็สามารถเริ่ม ถ่ายทำได้
การเคลื่อนกล้อง โดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริม
คลิปวิดีโอ เรื่อง การเคลื่อนกล้องโดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริม 1. ไม่มีขาตั้งกล้อง อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่าขาตั้งกล้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นต่อการถ่ายทำภาพยนตร์มาก แต่ถ้าหากไม่มี ขาตั้งกล้องก็สามารถใช้การทดแทนได้ด้วยวิธีการ ดังนี้  1.1 ใช้สายคล้องกล้อง และสองมือที่มี การใช้สายคล้องกล้องพร้อมกับสองมือ คือ การทดแทนขาตั้ง กล้องที่เรียบง่ายมากที่สุด แต่อาจต้องลงแรงเพิ่มมากขึ้นอีกนิด เนื่องจาก ต้องใช้กล้ามเนื้อแขนขณะถ่าย โดยเริ่มแรก ผู้ถ่าย ต้องนำสายคล้องกล้องที่มั่นใจว่ามัดติดกับกล้องแน่นแล้วคล้องคอตนเอง จากนั้น จับกล้องให้มั่น แขนแนบติดลำตัว พยายาม ประคองกล้องมั่นคง หากต้องการแพน ก็ค่อยๆ ประคองกล้องไปด้านซ้าย - ขวา หรือต้องการทิลท์ ก็ค่อยๆ ประคองกล้องไป ด้านบน - ล่าง เพื่อฟุตเทจที่ได้มีความชัดเจน ไม่สั่นไหว ผู้ถ่ายควรฝึกกลั้นหายใจให้ในขณะถ่ายทำ
 1.2 นำอุปกรณ์ใกล้ตัวที่มีรากฐานมั่นคงมาใช้แทน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น เพียงแค่นำกล้องไปวางบน อุปกรณ์ที่มีรากฐานมั่นคง ไม่โยกเยก ก็สามารถถ่ายคลิปวิดีโอที่นิ่งเสมือนกับการใช้ขาตั้งกล้องได้แล้ว แต่ถ้าหากอุปกรณ์นั้นๆ มีความสูงที่ยังไม่เพียงพอ อาจใช้วิธีการต่อตัว เช่น ต้องการให้กล้องสูงขึ้นอีก 10 เซนติเมตร ก็อาจนำหนังสือหลายเล่มมาวาง เรียงกันเป็นตั้ง แล้วจึงเอากล้องวางด้านบน เป็นต้น การแพนกล้อง ด้วยวิธีนี้ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่นำกระดาษแข็ง หนังเล่มบาง หรือสิ่งอื่นๆ ที่มีความ แข็งแต่บาง มาวางรองกล้อง จากนั้นจับปลายหนังสือทั้งสองข้าง แล้วหมุนไปด้านซ้ายหรือขวาช้าๆ
2. ไม่มีรางดอลลี่ การเคลื่อนกล้องแบบดอลลี่ และแทรคกิ้ง ต่างก็สร้างความน่าสนใจให้กับวิดีโอ แต่เมื่อขาดรางดอลลี่จึงจำเป็นต้อง แก้ปัญหาด้วยการนำกล้องไปวางกับสิ่งที่มีล้อ เพื่อใช้แทนรางดอลลี่ เช่น ยานพาหนะต่างๆ Sketeboard รถเข็น เป็นต้น แต่ ฟุตเทจที่ได้ออกมานั้น อาจไม่นิ่งเท่าที่ควรหากจะนำล้อต่างๆ มาเคลื่อนบนถนนที่ขรุขระ ดังนั้น ช่างภาพจึงจำเป็นต้องมีการ ประยุกต์ใช้สิ่งของรอบตัวให้มีประโยชน์ ตัวอย่างเช่น การใช้รถยนต์ดอลลี่ ทำได้โดยการให้ช่างภาพนั่งภายในรถ แล้วจับกล้อง ให้มั่น หรืออาจใช้ขาตั้งกล้องตั้งไว้แต่มีคนจับก็ได้ ถ้าหากขับรถด้วยความเร็วสูง จะทำให้คลิปสั่นไหว ดังนั้น จึงควรขับ อย่างช้าๆ หรืออาจใช้วิธีเข็นรถแทน เป็นต้น นักเรียนสามารถศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้สิ่งของใกล้ตัวให้เป็นรางดอลลี่ได้จาก GIF ด้านล่าง
การเข็นรถยนต์โดยใช้ขาตั้งกล้องตั้งในรถ แทนการใช้รางดอลลี่
การเข็นจักรยานโดยให้ช่างภาพนั่งจับกล้องบนจักรยาน แทนการใช้รางดอลลี่
 การถ่ายวิดีโอในยุคนี้ถือว่าเป็นที่นิยมทำกันมาก อาจเป็นเพราะ สมาร์ตโฟนเพียงเครื่องเดียวก็สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย อีกทั้งสื่อวิดีโอยังเป็นสื่อที่ผู้ชมสามารถรับชม แล้วเข้าใจได้ง่ายกว่าสื่อชนิดอื่นๆ แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าหากวิดีโอ ของเรามีการเคลื่อนกล้องที่ชัดเจน และไม่สั่นไหว ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นตัวช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ชม และดูมีความเป็นมืออาชีพ มากยิ่งขึ้น ดังนั้น การเคลื่อนกล้องสำหรับสมาร์ตโฟนจึงเป็นสิ่งสำคัญ และมีเทคนิคง่ายๆ ดังต่อไปนี้
คลิปวิดีโอ เรื่อง การเคลื่อนกล้องสำหรับสมาร์ตโฟน 1. ใช้ขาตั้งกล้องสำหรับสมาร์ตโฟน การถ่ายวิดีโอด้วยสมาร์ตโฟนก็เหมือนกับการถ่ายด้วยกล้อง DSLR คือ วิดีโอที่ได้ควรจะมีความนิ่ง ไม่สั่นไหว ถึงจะน่าดู ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ขาตั้งกล้องกับตัวหนีบสมาร์ตโฟนที่ใช้กับไม้เซลฟี่ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้าน จำหน่ายอุปกรณ์เสริมสำหรับสมาร์ตโฟน และมีหลากหลายราคาให้เลือกสรรตามคุณภาพของสินค้า นอกจากนี้ขาตั้งกล้อง ยังสามารถใช้เป็นอุปกรณ์ในการแพน ทิลท์ได้อีกด้วย
2. จับสมาร์ตโฟนด้วยสองมือ ถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง การใช้สองมือที่มีอยู่ประคองสมาร์ตโฟนขณะถ่ายทำ คือ การทดแทนขาตั้งกล้องที่เรียบง่ายมากที่สุด โดยขณะ ถ่ายทำ ต้องจับสมาร์ตโฟนให้มั่นด้วยมือซ้าย ส่วนมือขวาประคองสมาร์ตโฟนไว้อีกด้าน (ดังภาพด้านล่าง) แขนแนบติดลำตัว พยายามประคองกล้องมั่นคง และเพื่อวิดีโอที่ไม่สั่นไหว ช่างภาพควรฝึกกลั้นหายใจ เช่นเดียวกับการประคองกล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) ด้วย หากต้องการแพนก็ค่อยๆ ประคองกล้องไปด้านซ้าย - ขวา หรือต้องการทิลท์ก็ค่อยๆ ประคองกล้องขึ้นด้านบน-ล่าง
3. การดอลลี่สมาร์ตโฟนโดยใช้รถ หรือสิ่งที่มีล้อ การเคลื่อนกล้องแบบดอลลี่ และแทรคกิ้ง เป็นการสร้างความน่าสนใจให้กับวิดีโอ และทำให้วิดีโอที่ได้มีความสวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจมากยิ่งขึ้น โดยการดอลลี่สำหรับสมาร์ตโฟนมีเทคนิคง่ายๆ คล้ายกับการดอลลี่กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) นั่นก็คือ ให้ช่างภาพจับสมาร์ตโฟนให้มั่น เช่นเดียวกับการจับสมาร์ตโฟนด้วยสองมือถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง แล้วนั่งภายใน รถ หรือสิ่งที่มีล้อ เพื่อใช้แทนรางดอลลี่ เช่น ยานพาหนะต่างๆ Skateboard รถเข็น เป็นต้น
4. การแพน ดอลลี่ และแทรคกิ้ง โดยการประยุกต์วัสดุเหลือใช้ เราสามารถนำวัสดุเหลือใช้ต่างๆ มาประยุกต์ให้เป็นอุปกรณ์เสริมกับสมาร์ตโฟน เช่น การนำขวดน้ำพลาสติก ที่ใช้แล้ว มาตัดขวดพลาสติกออกให้ส่วนล่างเป็น 1 ใน 3 ของขวด จากนั้น ตัดขอบด้านข้างขวดสองข้างให้มีความหนาเท่ากับ สมาร์ตโฟนที่จะใช้ถ่ายทำ เมื่อตัดเสร็จก็นำสมาร์ตโฟนวางลงไปในช่องที่ตัดไว้ โดยขณะที่ถ่ายทำต้องมีผ้ารองไว้หนึ่งผืน สำหรับใช้ลากขวด เพียงเท่านี้ก็ได้อุปกรณ์สำหรับแพน ดอลลี่ และแทรคกิ้งแล้ว ถ้าต้องการแพน ให้จับผ้าที่รองไว้ แล้วค่อยๆ หมุนผ้าจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งช้าๆ สมาร์ตโฟนที่เสียบอยู่ก็จะ แพนตามไปด้วย ทำให้ได้วิดีโอการแพนที่นุ่มนวลมาอย่างง่ายดาย หรือถ้าหากต้องการดอลลี่ หรือแทรคกิ้งก็จับผ้าที่รองไว้ แล้วค่อยๆ ลากไปกับพื้นเรียบ ถ้าพื้นขรุขระควรนำ กระดาษแข็ง หรือสิ่งที่เรียบ และแข็งมารองไว้ก่อนจะทำให้ได้ฟุตเทจวิดีโอที่ชัดเจน และไม่สั่นไหวมากเกินไป ข้อแนะนำ : ถ้าหากสมาร์ตโฟนเครื่องใหญ่ และหนัก สามารถนำก้อนหินมาใส่ในขวดเพื่อถ่วงน้ำหนักได้
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.