Web Link

จำนวนผู้เยี่ยมชม

วันนี้58
เมื่อวานนี้61
สัปดาห์นี้629
เดือนนี้2589
ทั้งหมด543915

Powered by Kubik-Rubik.de

Login Form

เพลงลูกเสือ

“ราชสดุดี”
ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ
ขอน้อมนบบาทบงสุ์พระทรงศรี
พระบาทมงกุฎเกล้าฯ จอมเมาลี
ทรงปราณีก่อเกื้อลูกเสือมา
ทรงอุตส่าห์อบรมบ่นิสัย
ให้มีใจรักชาติศาสนา
ทรงสั่งสอน สรรพกิจ วิทยา
เป็นอาภาผ่องพทุธิวุฒิไกร
ดังดวงจันทราทิตย์ประสิทธิ์แสง
กระจ่างแจ้งแจ่มภพสบสมัย
พระคุณนี้จะสถิตสนิทใน
ดวงหทัยทวยราษฎร์ไม่คลาดเอย

 

“ลูกเสือไทย”
เหล่าลูกเสือ ของธีรราช
ทะนงองอาจ สืบชาติเชื้อพงศ์พันธ์
สมัครสมาน โดยมีสามัคคีมั่น
พวกเราจะร่วมรักกันจะผูกสัมพันธ์ตลอดกาล
มีจรรยา....รักษาชื่อ สร้างเกียรติระบือ
เลื่องลือต่อไปช้า-นาน ร่าเริงแจ่มใส
ใส่ใจรักให้ยืนนาน พวกเราล้วนชื่นบาน
เพราะกิจการลูกเสือไทย

 

 

“วชิราวุธรำลึก”
วชิราวุธพระมงกุฎเกล้า เจ้าประชา
ก่อกำเนิดลูกเสือมา ข้าเลื่อมใส
พวกเราลูกเสือ เชื้อชาติไทย
เทิดเกียรติพระองค์ไว้ ด้วยภักดี
ลูกเสือรำลึกนึกพระคุณ เทิดบูชา
ปฏิภาณรักกษัตริย์ ชาติศาสน์ศรี
มาเถิดลูกเสือ สร้างความดี
เพื่อศักดิ์ศรีลูกเสือไทย ดั่งใจปอง

 

 

“มาร์ชลูกเสือไทย”
จริยะและคุณธรรม น้อมนำเราเหล่าลูกเสือเชื้อไทย
รักชาติ ศาสนา องค์พระราชายิ่งดวงใจ
รักษาความดีลูกเสือ เอื้อเฟื้อคนทั่วไป
ระเบียบเพื่อพร้อมวินัย ยึดมั่นในสามัคคี
ญ. เราผูกพัน รวมกัน สมานไมตรี
ลูกเสือน้อมชีวี เพื่อศักดิ์ศรี ลูกเสือไทย
ช. เราพร้อมใจ ห่างให้ไกล จากยาเสพติด
เป็นมารชีวิต จงช่วยคิดทำลาย
(พร้อม)
เราจงหาญกล้า น้อมรักษา อธิปไตย
ปฏิภาณยิ่งใหญ่ เทิดไท้ องค์ราชันย์
เราทุกคนเทิดไว้ อยู่เหนือดวงใจ
เสียชีพอย่าเสียสัตย์ไซร้ ลูกเสือไทยเด่นทั้งโลกา

 

 


“ไตรรงค์ธงไทย”
ไตรรงค์ธงไทย ปลิวไสวสวยงามสง่า
สีแดงคือชาติ สีขาว ศาสนา
น้ำเงินหมายว่า พระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์

 


“เพื่อนลูกเสือ”
เพื่อนลูกเสือ ยิ้มทุกเมื่อ แสนสุขสันต์
แม้นมิพบ ประสบกัน สายสัมพันธ์คือจิตใจ
เพื่อนลูกเสือ ยิ้มทุกเมื่อไม่หวั่นไหว
หลอมความรักรวมจิตใจพร้อมมอบให้กันทุกครา
เรื่องงานหนักเบาลูกเสือเราเก่งหนักหนา
ไม่เคยเกียจคร้านงานทุกงานเราศรัทธา
ร่วมมือกันทุกเมื่อ ช่วยเหลือกันทุกครา
ลูกเสือนี้ “มีน้ำใจ”
เพื่อนลูกเสือ สังคมเชื่อ ลูกเสือไทย
“น้อมนับถือ ความซื่อสัตย์” ไว้
ผองชาวไทย.........จึงนิยม

 

 


“ในหมู่ลูกเสือ”
ในหมู่ลูกเสือ เมื่อรวมเราอยู่ ต่างคนต่างรู้กันดี ว่าหน้าที่ทุกอย่าง
ต้องช่วยกันทำ ทำไม่เว้นว่างงานทุกอย่าง งานทุกอย่าง จะเสร็จโดยง่ายดาย

 

 


“ลูกเสือจับมือ”
ลูกเสือเขาไม่จับมือขวา ยื่นซ้ายมาจับมือกันมั่นมือขวาใช้เคารพกัน (ซ้ำ)
ยื่นซ้ายออกมาพลันจับมือจับมือ จับมือนั้นหมายถึงมิตร เหมือนญาติสนิทควรคิดยึดถือ ยิ้มด้วยเมื่อการจับมือ (ซ้ำ)
เพราะพวกเราคือลูกเสือด้วยกัน

 

 


“พี่น้องลูกเสือ”
เราคือพี่น้อง ลูกเสือชาติไทย ดีใจที่เราได้มาเจอะกัน มาพบกัน
รักเรามั่นตรึงจิต เป็นนิมิตดีเลิศช่างประเสริฐดีแท้ รักไม่เปลี่ยนแปร ผูกใจสัมพันธ์
เราลูกเสือไทย รักชาติไทย (ซ้ำ) เราต่างร่วมใจสามัคคี (ซ้ำ)
เพื่อชาติไทยเรา (ซ้ำ) จะได้รุ่งโรจน์สดศรี (ซ้ำ)
ร่วมรักร่วมใจร่วมสามัคคี มีไมตรีเป็นมิตรที่ดีทั่วกัน
พระมงกุฎเกล้าท่านทรงประธาน (ซ้ำ) หน้าที่ของเรานั้นบริการ (ซ้ำ)
พระมงกุฎเกล้าท่านทรงประธานหน้าที่ของเรานั้นบริการ

 

 

“อยู่แห่งไหน”
อยู่ที่ไหน เหนือ กลาง ใต้
อีสาน......... หรือที่ใด
จงพร้อมจิตพร้อมใจ ร่วมกันพัฒนา
เรามารักกันไว้ ๆ ๆ

 

 

“ลูกเสือร่วมใจ”
จากแดนไกลเหนือใต้อีสาน
เชื่อมผูกพันสำราญในดวงฤทัย
ขอให้จงโชคดี อย่าให้มีเภทภัย
หวังสิ่งใด ขอให้สมปรารถนา
(หล่า ลา ลา ..................................)

 

 


“มาร้องเพลงกัน”
มาเถิดเรามา มาร่วมร้องเพลงกัน พวกเราทั้งนั้นลุกขึ้นพลันทันที
แล้วเราก็หันหน้ามาหากัน แล้วยิ้มให้กันตบมือ 3 ที
(ป๊าบ ป๊าบ ป๊าบ)
เสร็จพลันแล้วก็หันกลับมา สนุกนักหนา..............
ส่ายเอว 5 ที เอ้า 1 2 3 4 5

 

 

“เดินทางไกล”
เกิดมาเป็นคน ต้องตรงเวลา อย่ามัวรอช้าเร่งรีบมาเร็วไว ร่วมเดินทางไกล
จะไกลเพียงใด พวกเราเดินไปแล้วสุขใจจริง
เริงสำราญเราเบิกบานเดินทางไกล ลืมทุกข์ไปเราสุขใจจริงๆ

 

 

“ค่ายลูกเสือลั่น”
แดดส่องฟ้าเป็นสัญญาวันใหม่
พวกเราแจ่มใส เมื่อมาอยู่ค่ายด้วยกัน
ต่างคนต่างรู้ในหมู่เรานั้น
ทุกข์สุขร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ชาติไทย
ตื่นเถิดหนาอายนกกามันบ้าง
อยู่ค่ายกว้างขวางแล้วเราสนุกสุขศรี
ไม่มีแม่อยู่ คุณครูคนดี ช่วยหนาวิธีผจญภัยนานา
เสื้อผ้านี้มีชุดเดียวเข้าค่าย
ลำบากยากกายพวกเราไม่เคยหน่ายแหนง
มีค่ายเหมือนบ้าน มีป่าเป็นกำแพง
พวกเราร่วมแรงร่วมใจพัฒนา
โลกจะหมองครองน้ำตายามเศร้า
แบ่งกันว่าเขา แล้วเราเศร้าจริงใจฉัน
ค่ายมีน้ำใจใสแจ่มทุกวัน
รักค่ายไหมนั่น เมื่อค่ายลั่นความจริง

 

 


“อยากเข้าค่าย”
อยากนักเข้าค่าย อยากจะได้คำชม บุกโคลนลุยตม ไม่ร้าวระบมหรือหน่าย
อดทนยิ่งเอย ไม่เคยบ่นลา ทั้งชีวามอบให้ ไม่ขอทำผิดไม่ติดสงสัย มอบไว้ดวงใจดีกว่า

 

 

“นอนดีดี”
อยู่บ้านนอนดีดี ไม่ว่าดีมาเข้าอบรม ทีแรกทำใจระทม มาอบรมไม่สนใจ นานนานไป
พอเห็นคุณค่า ศรัทธาของลูกเสือไทย ลูกเสือนั้นมีระเบียบและวินัย

เหนื่อยยากนั้นเราไม่หวั่น เราช่วยเหลือกันดังเจตนา

 


“สัญญาณนกหวีด”
ยาวหนึ่งครั้ง……. เราฟังได้ความว่าหยุด
เป่ายาวเป็นชุด....... เราต้องรีบรุดไปต่อไป
สั้นติดต่อกัน……. เราพลันเข้าแถวทันใด
สั้นยาวนั้นไซร้..... เรารีบไปเพราะมีเหตุการณ์
นายหมู่มานี่…… ฟังซีสั้นสามยาวหนึ่ง
ลูกเสือรำพึงจดจำคำนึง.... นี่คือสัญญาณ

 

 


“ทิศ”
ทิศทั้งแปดทิศ ขอจงคิด จำให้เคยชิน
อุดร ตรงข้ามทักษิณ บูรพา ประจิม จำไว้
อิสาน ตรง หรดี ท่องอีกที จำให้ขึ้นใจ
พายัพ นั้นอยู่ทางไหน ตรงข้ามไปคือ อาคเนย์ (ซ้ำ)

 


“เรร่อน ชินตา”
เรร่อน เรร่อน ชินตา ชินตา เรร่อน เรร่อน
เรร่อน เรร่อน ชินตา ชินตา เรร่อน เรร่อน
เรามาอยู่ค่ายด้วยกัน ด้วยกันทุกวันทุกคืน
เรามาอยู่ค่ายด้วยกัน ด้วยกัน ทุกวัน ทุกคืน

 


“ฝึกด้วยกัน”
ฝึกมาฝึกมาฝึก ฝึกมาฝึกด้วยคน (ซ้ำ)
พวกเราลูกเสือชาติไทย ต้องมาร่วมใจมาช่วยกันฝึก

 

 


“วันอยู่ค่าย”
วันนี้รื่นเริง สำราญสุขสันต์อุรา พวกเราต่างมา มาอยู่ค่ายพักแรม เราร้องเรารำ
ยามเมื่อมาพักแรม สบายคล้ายคืนจันทร์แจ่ม พักแรม สุขสันต์อุรา (ซ้ำ)

 

 


“เที่ยวทะเล”
ไปเที่ยวทะเล ไปเที่ยวทะเล อย่ามัวโอ้เอ้ ไปเที่ยวทะเล กันเถิดเอย
ไปซื้อปลาบู่ ไปดูเรือใบ มาซิเร็วไว ไปเที่ยวทะเล ดูเรือตังเกกัน แล่นออกหาปลา

 

 


“แล่นเรือใบ”
แสงอรุณเบิกฟ้า ท้องนภาสดใส
สกุณาบินไกล แล่นเรือใบหาปลา
แล่นไปฝั่งซ้าย แล้วย้ายมาฝั่งขวา
ส่ายเอวไปมา เพลินอุราน่าชม

 

 


“ทะเลสวย”
โอ้ทะเลแสนงาม.... ฟ้าสีครามสดใส
มองเห็นเรือใบ...... แล่นอยู่ในทะเล
หาดทรายงามเห็นปู……. ดูซิดูหมู่ปลา
กุ้งหอยนานา....... อยู่ในท้องทะเล

 

 


“เดี๋ยวเดียว”
เดี๋ยวเดียว เจอะกันประเดี๋ยวเดียว สนิทสนมกลมเกลียว เดี๋ยวเดียวก็รักกันได้
แปลกใจเรารักกันได้อย่างไร (ซ้ำ) เรารักกันได้ เพราะลูกเสืออย่างเดียว

 

 


“ยินดีที่มาพบกัน”
วันนี้ยินดีที่เราได้มาพบกัน (ซ้ำ) ยินดี ยินดี ยินดี มาเถิดมาเรามาร่วมสนุก
ปลดเปลื้องความทุกข์ให้มันสิ้นไป มาเถิดมาเรามา ร่วมจิตช่วยกันคิดทำให้การลูกเสือเจริญ

 

 


“ยินดีที่รู้จัก”
ยินดีที่รู้จัก เพื่อนที่รักขอเชิญร่วมจิต
เรารักกันฉันมิตร รักสนิทเหมือนพี่น้องกัน
ยินดีที่รู้จัก เพื่อนรักขอร่วมใจมั่น
ขอให้ผูกสัมพันธ์ ร่วมรักกันให้นานเถิดเอย

 


“ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม”
ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม ยิ้มาหน้าตาหวานชื่น ยิ้มนิดชีวิตยั่งยืน สดชื่นอุราอย่ามัวรอ (ซ้ำ)
มายิ้มกันหนอเพื่อนเอย
ร่าเริง ร่าเริง เหล่าบันเทิงใจ หันหน้ากันไปทางไหน เขาก็ยิ้ม เราก็ยิ้ม (ซ้ำ)
ยิ้มแย้มเปรมปรีดิ์สดชื่นอุรา

 


“พรวนดิน”
พรวนดินกันเสียให้หมด จะปลูกข้าวโพดสาลี
โอ้เจ้าดวงชีวา เจ้าไม่เมตตาตัวพี่
ข้าวโพดสาลี ข้าวโพดสาลี ป่านฉะนี้จะโรยรา (ซ้ำ)

 

 

“ตรงต่อเวลา”
ตรงต่อเวลา พวกเราต้องมาให้ตรงเวลา
ตรง ตรง ตรงเวลา พวกเราต้องมาให้ตรงเวลา
เราเกิดมาเป็นคน ต้องหมั่นฝึกตนให้ตรงเวลา
วันคืนไม่คอยท่า วันเวลาไม่เคยคอยใคร (ซ้ำ)

 

 


“รอ”
รอฉันรอเธออยู่ แต่ไม่รู้เธออยู่หนใด เธอจะมาเธอจะมาเมื่อใด นัดกันไว้ทำไมไม่มา
ฉันเป็นห่วง ฉันเป็นห่วงตัวเธอ ใจฉันเก้อ ชะเง้อคอยหา นัดไว้ทำไมไม่มา โอ้เธอจ๋า

อย่าช้า เร็วหน่อย รีบหน่อย ๆๆ เร่งหน่อยๆๆ

 


“ตบมือ 1 2 345”
ตบมือ 5 ครั้ง (1 2 345) ให้มันดังกว่านี้ (1 2 345)
กระโดดข้างหน้า 5 ที (1 2 345) แล้วกลับมาที่เดิม (1 2 345)
กระโดดไปข้างซ้าย (1 2 345) แล้วย้ายมาข้างขวา (1 2 345)
ชื่นในอุราเมื่อเรามาเจอกัน
ไม่รู้เป็นอย่าง ไม่รู้เป็นอย่างไร ชอบคนมีตังค์

 


“กระโดด”
กระโดด กระโดด กระโดด กระโดดเพื่อสร้างพลัง กำลังให้แก่พวกเรา
ลา ลั้น หล่า หล่า ลั่น ลา ....... (ซ้ำ)

 

 


“จำ”
จำ จ้ำ จำ บอกให้จำทำใมกลับลืม
ลืม ลื้ม ลืม บอกให้ลืมทำไมกลับจำ
แหมมันน่าขำบอกให้จำทำไมกลับลืม
แหมมันน่าขำบอกให้ลืมทำไมกลับจำ

 


“ลูกช้าง”
ลูกช้างทำไมจึงตัวใหญ่ ลูกไก่ทำไมจึงตัวเล็ก (ซ้ำ)
คิด แล้วยิ่งปวดหัวคิด (ซ้ำ) ก็ยังคิดไม่ออก
คิด แล้วยิ่งปวดหัวคิด (ซ้ำ) ก็ยังคิดไม่ออก
ลา ลา....................................

 


“โตงเตง”
โตง โตง โตง นุ่งกระโปรงสีแดงสีแดง
เตง เตง เตง นุ่งกางเกงสีแดงสีแดง
สีแดงคือแสงตะวัน (ซ้ำ)
สีใครสีมันสีกันให้แรงแรง

 

 


“ว่าว”
ว่าวที่เราชอบเล่น เช้าเย็นเราเคยเล่นว่าว
ว่าวน้อยที่ลอยสู่ดาว (ซ้ำ)
สองมือเราสาวเมื่อว่าวติดลม (ซ้ำ)
โบกสะบัดสวิส สวาส เวียนวน (ซ้ำ)
มองดูสับสนอยู่บนเมฆา (ซ้ำ)

 

 


“วน”
วน วน วน พวกเราวนให้มันรอบตัว (ซ้ำ) จับมือ จับแขน จับไหล่ (ซ้ำ)
พอจับที่ใจ อุ๊ยกลัวๆ

 

 


“เรือแจว เรือพาย”
แจว แจว แจว แล้วก็ พาย พาย พาย พาย พาย แล้วก็ แจว แจว แจว แสนสนุก
สุขสบายเมื่อลงเรือพายเรือแจว
พาย พาย พาย แล้วก็ แจว แจว แจว แล้วก็ พาย พาย พาย แสนสนุกสุขสบายเมื่อลงเรือพายเรือแจว

 

 


“เรือแจว”
แจวแล้วมาแจวจ้ำจึก น้ำนิ่งไหลลึกนึกถึงคนแจว แจวเรือจะไปของ (ซ้ำ)
ขอเชิญนวลน้องลุกขึ้นมาแจว (ขอเชิญหมู่สอง ลุกขึ้นมาแจว)

 

 


“สวัสดี”
สวัสดี สวัสดี วันนี้เรามาพบกัน เธอกับฉัน พบกันสวัสดี

 

 


“รถตุ๊กตุ๊ก”
ขับรถตุ๊กตุ๊ก บรรทุกถ่าน รถขึ้นสะพานขึ้นสะพาน เลยชักกระตุก ชักกระตุก
ชักกระตุก ชักกระตุก ......... ชักกระตุก ชักกระตุก

 


“มดแดง”
มดแดงขบแข้งขบขา ขบเสื้อขบผ้า ตุ้งแฉ่งๆ
มดแดงมันเต้นระบำ เลยหัวขมำ ตุ้งแฉ่งๆ

 


“นกพิราบ”
พรับพรึบพรึบ พรึบพรับขยับบิน (ซ้ำ) ฝูงนกพิราบขาวดำและเทา น่ารักจริงนา
บนเวียนวนอยู่บนหลังคา บินไปเกาะตามกิ่งพฤกษา ไซร้ปีกหางกันอยู่ไปมา (ซ้ำ)
แสงแดดจ้าพากันคืนรัง

 

 


“เป็ด”
ก๊าบ ก๊าบ ก๊าบ เป็ดอาบน้ำในคลอง
ตาก็จ้องแลมอง เพราะในคลองมีหอยปูปลา

 


“เป็ด”
ยามเมื่อเป็ดมันเดินไป มองแล้วไม่น่าดูเลย
จำไว้เถิดเพื่อนเอ๋ย เอ๋ย จงอย่าเดินให้เหมือนเป็ด

 


“ช้าง”
ช้าง ช้าง ช้าง น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกมันยาว
เรียกว่างวง สองเคี้ยวใต้งวงเรียกว่างา มีหูมีตาหางยาว

 

 


“หมู”
หมู หมู หมู น้องเคยเห็นหมูหรือเปล่า หมูมันตัวอ้วนไม่เบา ผัดเผ็ดใบกระเพรา
อร่อยดี (ซ้ำ) กินแล้วอ้วนพีแข็งแรง

 

 


“ลิง”
เจี๊ยก เจี๊ยก เจี๊ยก เป็นเสียงเรียกของลิง
ลิงมันไม่อยู่นิ่ง มันชอบวิ่งกระโดดไปมา
เจี๊ยก เจี๊ยก เจี๊ยก มันร้องเรียกพวกมันมา
ครั้นพอถึงเวลา ออกเที่ยวหาผลไม้กิน

 


“ระบำนางช้าง”
นางช้างตัวหนึ่ง ออกไปเที่ยวเดิน
บนใยแมลงมุม เล่นจนเพลิดเพลิน
มันเห็นเป็นการ สนุกเหลือใจ
มันจึงร้องเรียกให้ นางช้างอีกตัวหนึ่งขึ้นมา
นางช้างสองตัว........................ฯลฯ
นางช้างสามตัว........................ฯลฯ
นางช้างสี่ตัว............................ฯลฯ

 


“แมลงเกาะกระต่าย”
มีแมลงตัวหนึ่ง เกาะอยู่บนจมูกกระต่าย มันจึงปัด มันจึงปัด แมลงก็บินหนีไป

 

 


“แมลงวัน แมลงหวี่”
แมลงวัน แมลงหวี่ แมลงหวี่ แมลงวัน ยุง ยุง ยุง เพราะมันตีกันแมลงวัน แมลงหวี่

 


“ม้า”
ม้าวิ่งกรับกรับ เดี๋ยวเดียวลับตาเราไป
ม้าวิ่งเร็วไว เร็วทันใดควบกรับกรับกรับ
ม้าวิ่งเร็วรี่ ดูซิหายไป ม้าวิ่งไวควบกรับๆๆ

 


“ไก่โต้ง”
ไก่โต้งขันโอ้ก อิ โอ้ก (ซ้ำ)
ตัวเมียไข่ตก กระโต๊ก กระต๊าก (ซ้ำ)
ออกไข่สบายใจมาก (ซ้ำ)
กระโต๊ก กระต๊าก กระต๊าก กระโต๊ก (ซ้ำ)

 

 


“ล่องเรือ”
ล่องเรือไปตามธารา เห็นหอยปูปลา แหวกว่ายเวียนวน พวกลูกเสือมากันหลายคน (ซ้ำ) เห็นลูกเสือ 3..... คนเอาก้นชนกัน

 

 


“คุณไม่รักทำไมไม่บอก”
คุณไม่รักทำไมไม่บอก (ปั่นแปะๆ) มาลวงมาหลอกกันเล่นทำไม (เป่ายิ่งฉุบ ๆ )
โอ้คนหลายใจ (อ้อเลาะๆ) ฉันทนไม่ไหวแน่ๆ (โอ๊ยเสียวๆ)

 


“รอรัก”
ก ไก่ มันอยู่ที่แก้ม ป.ปลา มันอยู่ที่ปาก ต.เต่ามันอยู่ที่ตา ส่วน ม.ม้ามันอยู่ที่จมูก
ล.ลิงมันอยู่ที่ใหล่ ข.ใข่มันอยู่ที่แขน ร.รักสิมันขาดแคลน มี ฟ.แฟนไว้ในดวงใจ
ล้า ลา ลา ลา ลา ลา ลา (ซ้ำ)

 

 


“ สุขกันเถอะเรา”
สุขกันเถอะเรา เศร้าไปทำไม
จับมือกันไว้ แล้วยักเอวยักไหล่
หมุนตัวกลับไป หมุนตัวกลับมา
อย่ามัวรอช้า เปลี่ยนคู่มาเร็วไว

 

 


“ฟ้าลั่น”
แน่ะดังฟ้าลั่น แน่ะดังฟ้าลั่น
ได้ยินไหม ได้ยินไหม
เสียงฝนตกดังเปาะแปะ เสียงฝนตกดังเปาะแปะ
เราเปียกปอน เราเปียกปอน

 

 


“เมื่อย”
เมื่อยไหมจ๊ะน้องจ๋า ต้องทำท่าอย่างนี้อย่างนี้
ทำแล้วสดชื่นดี (ซ้ำ) อย่างนี้ๆ ๆ สบายใจจัง

 

 


“ออกกำลัง”
ออกกำลังด้วยการร้องรำทำเพลง
ให้ครื้นเครงเสียงเพลงบรรเลงจับใจ
ร่ำร้องกันไปไม่มีหม่นหมองฤทัย
แล้วเราเพลินใจด้วยการร้องรำทำเพลง

 

 


“หากว่าเราออกกำลัง”
หากว่าเรากำลังสบาย จงตบมือพลัน (ซ้ำ) หากพวกเรากำลังมีสุข หมดเรื่องทุกข์
ใดใดทุกสิ่ง มัวประวิงอะไรกันเล่า จงตบมือพลัน (ผงกหัว กระทืบเท้า ส่งเสียงดัง เปล่งเสียงไชโย ออกท่าทาง)

 


“หวานตา”
หวานตาหวานเพลง เรามาบรรเลงเป็นเพลงฮาวาย
สนุกจริงหนาไม่ว่าชายหญิง ระรื่นชื่นใจในวงฟ้อน

 


“ฮิปโป”
ฮิ๊บฮิ๊บโป โอ้โฮตัวมันใหญ่ (ซ้ำ) มันเดินอุ้ยอ้าย (ซ้ำ) ลาลันลา.......................

 


“ชุมนุมรอบกองไฟ”
โอ เมื่อมีไฟ ไฟ ไฟ ลุกขึ้นแดงจ้า พวกเราพร้อมหน้ากัน คืนวันนี้มีสุขปลดเปลื้องทุกข์ รับความสำราญ เธอกับฉันนั้นมาเล่นรอบกองไฟ
ไฟมันลุกมีความร้อนไม่อาทรความร้อนของไฟ ไฟจะลุกจะร้อนเพียงไหน สุขฤทัย
ร่วมวงเฮฮา (ซ้ำ)

 

 


“ความซื่อสัตย์”
ความซื่อสัตย์ เป็นสมบัติของคนดี
หากว่าใครไม่มี ชาตินี้เอาดีไม่ได้
มีความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอดถมไป
คดโกงแล้วใคร จะรับไว้ให้ร่วมการงาน

 

 


“ความเกรงใจ”
ความเกรงใจ เป็นสมบัติของผู้ดี
ลองตรองดูซี ทุกคนก็มีหัวใจ
เกิดเป็นคน ถ้าหากไม่เกรงใจใคร
คนนั้นไซร้ ไร้คุณธรรมประจำตน

 

 


“ลา”
ลาก่อนเพื่อนที่รัก ลาก่อนเพื่อนที่รัก ลาแล้ว ลาก่อน เราจะพบกันอีก เราจะพบ
กันอีก ลาก่อน ลาก่อน

 


“จากกัน”
ก่อนจะจากกันไป ขอฝากใจไว้กับทุกทุกท่าน (ซ้ำ) ถึงตัวไปใจนั้น ไม่แปรผันและห่างไกล แม้ว่าเราจากกันไม่ช้าพลันคงจะพบกันใหม่ ขอโชคดีมีชัยหมดทุกข์โรคภัยตลอดกาล

 

 


“ดุจบิดรมารดา”
รักชาติยอมสละแม้ชีวี รักเกียรติจงเจตน์พลีชีพได้ รักราชมุ่งภักดิ์รองบาท
รักศาสน์ ราญเศิกไซร้ เพื่อเกื้อพระศาสนา
อันสยามเป็นบ้านเกิดเมืองนอน ดุจบิดรมารดาเปรียบได้ ยามสุขสโมสรทุกเมื่อ
ยามศึกทุกข์ยากไร้ประหลาดเว้นฤาควร

 


“สามัคคีชุมนุม”
พวกเราเหล่ามาชุมนุม ต่างภูมิใจรักสมัครสมาน
ล้วนมิตรจิตชื่นบาน สราญเริงอยู่ทุกผู้ทุกนาม
(สร้อย) อันความกลมเกลียว กันเป็นใจเดียวประเสริฐศรี
ทุกสิ่งประสงค์จงใจ จักเสร็จสมได้ด้วยสามัคคี
กิจใดถ้าประสงค์มี ร่วมใจภักดีแด่พระจอมสยาม
พร้อมพรึบดังมือเดียวยาม ยากเย็นเห็นง่ายบ่หน่ายบ่วาง
(สร้อย).............
ที่หนักก็จักเบาคลาย ที่อันตรายขจัดขัดขวาง
ฉลองพระเดชบ่จาง กตเวทิคุณพระกรุณา
(สร้อย)..............
สามัคคีแหละล้ำเลิศ จักชูชาติเชิดพระศาสนา
สยามรัฐจักวัฒนา ปรากฏเกียรติฟุ้งเฟื่องกระเดื่องแดนดิน
(สร้อย).............

 

หลักสูตรการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ

หลักสูตรการเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ

                ในฐานะที่คณะลูกเสือแห่งชาติ (The National Scout Organization of Thailand: NSOT) เป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือโลก (World Organization of the Scout Movement: WOSM) จะต้องปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการของการลูกเสือ ตามที่องค์การลูกเสือโลกได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดแล้ว คณะลูกเสือแห่งชาติ ยังยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติลูกเสือ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2528 และปฏิบัติตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษ พ.ศ. 2509 การเรียนการสอนกิจกรรมลูกเสือ เดิมเป็นกิจกรรมเลือก ต่อมาไก้แก้ไขเป็นกิจกรรมบังคับ และแก้ไขอีกครั้งเป็นวิชาบังคับเรียน แต่เมื่อประเมินผลแล้วเห็นว่าไม่ประสบผลสำเร็จ จึงแก้ไขเป็นกิจกรรมบังคับเลือก จนถึง พ.ศ. 2544 กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้กำหนดให้สถานศึกษาใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์ อยู่ในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

หลักสูตรกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

จุดประสงค์

            เพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ  ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า ความสงบสุข และความมั่นคงของประเทศชาติ  จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้

  1. 1.      มีความรู้  ความเข้าใจ  และสามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
  2. 2.      มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือ การแก้ปัญหา และทักษะในการทำงานร่วมกับ ผู้อื่น
  3. 3.      มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความกล้าหาญ อดทน เชื่อมั่นในตนเอง  มีระเบียบวินัย มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความเสียสละ บำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
  4. 4.      มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ  สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ


หลักสูตรลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กิจกรรม

หัวข้อเนื้อหา

เครื่องหมายลูกเสือโลก

(สอบได้ภายใน 6เดือน)

1.      แสดงว่าเข้าใจเรื่องราวต่อไปนี้พอสมควร
  1. 1.1 กิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ
  2. 1.2 กิจการของคณะลูกเสือโลกและความสัมพันธ์ระหว่างลูกเสือนานาชาติ
  3. 1.3 บทบาทของตนเองในฐานะที่เป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
    2.      ยอมรับและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฏของลูกเสือ
    3.      เข้าใจเรื่องระเบียบแถวและปฏิบัติตามหนังสือ คู่มือการฝึกระเบียบแถว  ลูกเสือของสำนักงานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
    4.      กางและรื้อเต็นท์ที่พักแรมในเวลากลางคืนกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่        อีกคนหนึ่ง
    5.      สาธิตการบรรจุเครื่องหลังอย่างถูกต้อง สำหรับการเดินทางไกลไปพักแรมค้างคืน
    6.      ก่อและจุดไฟกลางแจ้ง แล้วปรุงอาหารอย่างเพียงพอสำหรับ คน
    7.      สามารถอ่านและใช้แผนที่ เข็มทิศและรู้จักบริเวณที่ตนอยู่ โยพิจารณาจากเข็มทิศและสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นด้วยตาเปล่า
    8.      สามารถผูกและรู้จักประโยชน์เงื่อน 10 เงื่อนต่อไปนี้  คือ เงื่อนพิรอด เงื่อนขัดสมาธิ  เงื่อนผูกกระหวัดไม้  เงื่อนบ่วงสายธนู  เงื่อนตะกรุดเบ็ด เงื่อนประมง  เงื่อนผูกซุง  เงื่อนผูกรั่ง  เงื่อนปมตาไก่ และการผูกแน่น (ผูกทแยง ผูกกากบาท ผูกประกบ)
    9.      รู้วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลในเรื่องต่อไปนี้ คือ บาดแผลธรรมดา ถูกไฟไหม้  น้ำร้อนลวก  เป็นลม  งูกัด  แมงมุมกัด  แมลงกัดต่อย ผิวหนังถลอกและเท้าแพลง
    10. รู้เรื่องที่พึงระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

เครื่องหมายวิชาพิเศษ

(76 วิชา)

เรียนนอกเวลาหรือเรียนในเวลาในภาคเรียนที่ 2  หรือใช้วิธีบูรณาการเข้ากับ กลุ่มสาระการเรียนรู้

 

หลักสูตรลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กิจกรรม

หัวข้อเนื้อหา

เครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ (สอบได้ภายใน ปี และเข้าพิธีประจำกองแล้ว  หลังจากได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลก)

ผู้ที่เข้าเกณฑ์ได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ  จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. 1.      ได้รับเครื่องหมายลูกเสือโลก
    2.      สอบวิชาพื้นฐานระดับลูกเสือชั้นพิเศษได้ วิชา คือ วิชาการเดินทาง สำรวจ วิชาการบริการ และวิชาอื่นอีก  3  วิชา  ซึ่งลูกเสือเป็นผู้เลือก
    3.      ผ่านการฝึกอบรมวิชาความคิดริเริ่ม ( Initiative Course) ซึ่งต้องประกอบด้วย ไปอยู่ค่ายพักแรมเป็นเวลา คืน

            การไปอยู่ค่ายพักแรมต้องเดินไปยังท้องถิ่นที่ลูกเสือไม่คุ้นเคย  จำนวนลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่จะไปอยู่ค่ายพักแรม ควรแบ่งเป็นชุด ๆละ คน

            การเดินทางไกลต้องมีระยะทางอย่างน้อย กิโลเมตรและในระหว่างการเดินทางให้สมมติว่า มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นอย่างน้อย อย่าง  เช่น  ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหรือมีผู้ติดอยู่ในที่สูง  การใช้เข็มทิศ  การปฏิบัติงานในเวลากลางคืน  การแปลรหัสและเหตุฉุกเฉินทางน้ำ เป็นต้น   เหตุฉุกเฉินเช่นว่านี้ ให้เว้นระยะห่างกันพอสมควรและลูกเสือจำเป็นต้องมี่ความรู้เรื่องแผนที่และเข็มทิศ  จึงจะสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทางได้

            การฝึกอบรมวิชาความคิดริเริ่มนี้ต้องมีลักษณะเป็นการทดสอบอย่างจริงจังในเรื่องของความตั้งใจจริง ความคิดริเริ่ม และการพึ่งตนเอง (Self-reliance)     คณะกรรมการดำเนินงานของกองและผู้กำกับเห็นว่าเป็นผู้ที่สมควรได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ

  1. ได้รับอนุมัติจากเลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติหรือ       ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดแล้วแต่กรณี

เครื่องหมายวิชาพิเศษ

(76 วิชา)

เรียนนอกเวลาหรือเรียนในเวลาในภาคเรียนที่ 2  หรือใช้วิธีบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้

 

 

หลักสูตรลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

กิจกรรม

หัวข้อเนื้อหา

เครื่องหมายลูกเสือหลวง (สอบได้เดือน)

ผู้ที่เข้าเกณฑ์ได้รับเครื่องหมายลูกเสือหลวง จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. 1.      ได้รับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
  2. 2.      สอบได้วิชาพื้นฐานในระดับลูกเสือชั้นพิเศษ วิชา ซึ่งไม่อยู่ในวิชาพื้นฐาน วิชาที่สอบได้เมื่อขอรับเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ
  3. 3.      สอบได้วิชาบริการและวิชาพื้นฐานอีก วิชา ในระดับลูกเสือหลวง
  4. 4.      ผ่านการฝึกอบรมวิชาการเป็นผู้นำ ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้
  5. 5.      คณะกรรมการดำเนินงานของกองและผู้กำกับเห็นว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีตามวิธีการของลูกเสือและสมควรได้รับเครื่องหมายลูกเสือหลวง
  6. 6.      เลขาธิการคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติหรือผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัดแล้วแต่กรณี เป็นผู้แต่งตั้งบุคคลที่มีวุฒิเหมาะสมทำการสัมภาษณ์  เมื่อเห็นว่าเป็นผู้เหมาะสมแล้ว  ให้รายงานต่อไปตามลำดับจนถึงคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ  และให้ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้ลงนามในประกาศนียบัตรแสดงว่าเป็นผู้ได้รับเครื่องหมายลูกเสือหลวง

เครื่องหมายวิชาพิเศษ

(76  วิชา)

เรียนนอกเวลาหรือเรียนในเวลาในภาคเรียนที่ 2  หรือใช้วิธีบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้

 

แนวการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารีในสถานศึกษา

            การจัดกิจกรรมลูกเสือในสถานศึกษา ควรจัดให้มีการเปิดประชุมกองทุกครั้ง  ก่อนที่จะมีการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อเป็นการฝึกความมีระเบียบวินัยในตนเอง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้

  1. 1.      พิธีเปิด  (เชิญธงขึ้น  สวดมนต์ สงบนิ่ง ตรวจ แยก)
  2. 2.      เกมหรือเพลง  ทำให้เกิดความสนุกสนาน เป็นการอบอุ่นร่างกายก่อนปฏิบัติกิจกรรม  อาจใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง  ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นจะต้องสอดคล้องหรือสัมพันธ์กับ   เนื้อหาเสมอไป
  3. 3.      การปฏิบัติกิจกรรม  เน้นการปฏิบัติเป็นฐาน  โดยใช้ระบบหมู่เพื่อสะดวกต่อการเรียนการสอน ตลอดจนการควบคุมดูแล  ตวจสอบและให้คำแนะนำแก้ไข
  4. 4.      การเล่าเรื่องสั้นที่เป็นประโยชน์  ควรเน้นเรื่องง่าย ๆและสรุปให้ลูกเสือเข้าใจว่ามีประโยชน์  อย่างไร  ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของคุณธรรมต่าง ๆ เช่น ความสามัคคี  ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกล้าหาญอดทน ฯลฯ
  5. 5.      พิธีปิด (นัดหมาย  ตรวจ  เชิญธงลง เลิก)

 

การวัดประเมินผลกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี

            การวัดผลและประเมินผลกิจกรรมลูกเสือมี  2  กิจกรรม  คือ

  1. 1.      กิจกรรมบังคับ  เป็นการวัดผลและประเมินผลเพื่อให้ลูกเสือ เนตรนารีผ่านช่วงชั้นหรือจบหลักสูตร  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดและมีการวัดผลตลอดภาคเรียน โดยการ
    1. 1.1 สังเกต 
  2. 1)     ความสนใจ
  3. 2)     การเข้าร่วมกิจกรรม
    1. 1.2 ซักถาม
    2. 1.3 การทดสอบทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
  4. 2.      วิชาพิเศษ  เป็นการวัดผลและประเมินผลในแต่ละวิชา  โดยการทดสอบทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ และใช้เกณฑดังนี้
    1. 2.1 ผ่าน ผ )
    2. 2.2 ไม่ผ่าน มผ.)

 

กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือ-เนตรนารี

            การอยู่ค่ายพักแรม เป็นหัวใจของลูกเสือ ลูกเสือทุกคนต่างก็มีโอกาสที่จะอยู่ค่ายพักแรม  เนื่องจากตามข้อบังคับของคณะลูกเสือแห่งชาติ  ว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ..2509        ข้อ 273-279 กำหนดไว้ว่า  ให้ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือนำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและแรมคืน        ในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า ครั้ง  ครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อย คืน

            การเดินทางไกลและแรมคืน  มีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกให้ลูกเสือมีความอดทน อยู่ในระเบียบวินัย รู้จักช่วยตัวเอง  รู้จักอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่น  ตลอดจนเรียนวิชาลูกเสือเพิ่มเติม  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือจำเป็นต้องวางแผนนำลูกเสือไปเดินทางไกลและแรมคืนไว้ให้พร้อมก่อนและเนิ่น ๆ  ดังนั้น  บทบาทผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อลูกเสือ  ต่องานการอยู่ค่ายพักแรมและตามหน้าที่ของตนเอง  จึงจำเป็นต้องหาโอกาสให้ลูกเสือของตนได้มีโอกาสในการอยู่ค่ายพักแรมเสมอ

            อนึ่ง  ผู้บังคับบัญชาลูกเสือต้องเข้าใจว่า  กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรมนี้  เป็นกิจกรรมสำหรับเด็ก    มิใช่กิจกรรมของผู้ใหญ่  ความสำเร็จคือกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการของเด็ก  ได้แก่  การผจญภัย การได้เพื่อน ได้เรียนรู้สิ่งใหม่  ได้ความสนุกและความสุข  พร้อมทั้งเกิดทัศนคติที่ดีต่อการไปอยู่ค่ายพักแรมด้วย  ถือว่าสิ่งนี้เป็นจุดหมายที่สำคัญ

 

วิชาพิเศษลูกเสือ

            ลูกเสือทั้ง ประเภทที่เรียนหลักสูตรกิจกรรมลูกเสือสำรอง ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และลูกเสือวิสามัญ  อาจสอบวิชาพิเศษได้ตามหลักสูตรที่กำหนดไว้  วิชาเหล่านี้  มุ่งหมายให้ลูกเสือได้แสดงออก  ซึ่งทักษะและความสนใจของตนเองกับเพื่อให้ได้มีส่วนในการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับลูกเสืออื่น ๆด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้

เครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือ ประเภทสามัญรุ่นใหญ่ 76 วิชา

1. นักผจญภัย                                       

2. นักดาราศาสตร์         

3. นักอุตุนิยมวิทยา

4. ผู้จัดการค่ายพักแรม

5. ผู้พิทักษ์ป่า               

6. นักเดินทางไกล                    

7. หัวหน้าคนครัว

8. นักบุกเบิก

9. นักสะกดรอย          

10. นักธรรมชาติวิทยา   

11. การสื่อสารด้วยยานพาหนะ

12. นักดับเพลิง

13. นักสัญญาน         

14. นักสารพัดช่าง                    

15. นักโบราณคดี                     

16. นักสะสม

17. นักดนตรี                

18. นักถ่ายภาพ

19. นักกีฬา                  

20. นักกรีฑา

21. นักพิมพ์ดีด          

22. นักแสดงการบันเทิง

23. นักยิงปืน                

24. ล่าม

25. หน้าที่พลเมือง                                

26. มัคคุเทศก์ 

27. บรรณารักษ์

28. เลขานุการ

29. พลาธิการ                                         

30. ผู้ช่วยการจราจร     

31. ช่างเขียน   

32. ช่างไฟฟ้า

33. ช่างวิทยุ                             

34. ช่างแผนที่  

35. ช่างเครื่องยนต์       

36. อีเล็กทรอนิกส์

37. การหามิตร                                      

38. การฝีมือ

39. การช่วยผู้ประสบภัย

40. การสาธารณสุข

41. การพยาบาล            

42. การพูดในที่สาธารณะ          

43. การอนุรักษ์ธรรมชาติ           

44. การประชา สัมพันธ์

45. การสังคมสงเคราะห์    

46. การพัฒนาชุมชน    

47. ชาวประมง             

48. ต้นเด่น

49. ผู้นำร่อง               

50. นักเล่นเรือใบ                     

51. นักว่ายน้ำ               

52. นักพายเรือ

53. นักกระเชียงเรือ                  

54. กลาสีเรือ   

55. การควบคุมการจราจรทางน้ำ

 

56. การป้องกันความเสียหายและดับเพลิงไหม้บนเรือ       

57. การเรือ      

58. การดำรงชีพในทะเล

 

59. เครื่องหมายชาวเรือ

60. เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าสมุทร                     

61. นักเครื่องบินเล็ก

 

62. ช่างอากาศ            

63. ยามอากาศ

64. การควบคุมการจราจรทางอากาศเบื้องต้น

 

65. การควบคุมการจราจรทางอากาศ             

66. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและดับเพลิงอากาศยาน

 

 

67. การฝึกเป็นผู้นำ                  

68. นักปฏิบัติการทางจิตวิทยา(ปจว.)  

69. การขนส่งทางอากาศ

 

70. แผนที่ทหารและเข็มทิศ                              

71. เสนารักษ์               

72. การดำรงชีพในถิ่นทุรกันดาร

 

73. นักไต่ผา               

74. เครื่องหมายการบิน 

75. เครื่องหมายเชิดชูเกียรติลูกเสือเหล่าอากาศ

 

76. เครื่องหมายผู้ฝึกสอน

 

แนวปฏิบัติการสอบวิชาลูกเสือพิเศษ

            ในการสอบวิชาพิเศษลูกเสือ มีแนวปฏิบัติที่สำคัญ  ดังนี้

  1. 1.      ทำการสอบวิชาพิเศษโดยใช้เวลานอกเหนือจากจากที่ลูกเสือเข้าร่วมกิจกรรมตามปกติ  หรือในขณะอยู่ค่ายพักแรม  นอกจากนี้  ลูกเสืออาจใช้เวลาว่างของตนเองทำการฝึกฝนทักษะต่าง ๆของวิชาพิเศษ แล้วทำการขอสอบหรือส่งรายงานผลการปฏิบัติงานของรายวิชานั้น แก่ผู้กำกับลูกเสือ  เพื่อขอประดับเครื่องหมาย  การสอบจะจัดให้มีขึ้นปีละกี่ครั้งก็ได้ โดยเน้นการปฏิบัติจริง เมื่อสอบผ่านแล้ว ให้ผู้กำกับลงนามรับรองในสมุดประจำตัวลูกเสือ
  2. 2.      วิชาพิเศษลูกเสือวิชาใดที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ลูกเสือเข้าร่วมตามปกติ ก็ให้นำไปบูรณาการ รวมทั้งทำการสอบภาคปฏิบัติของวิชาพิเศษนั้น ๆ และให้ถือว่าลูกเสือที่ผ่านการสอบแล้วมีสิทธิ์ประดับเครื่องหมายวิชาพิเศษนั้นด้วย
  3. 3.      ให้โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการขอซื้อเครื่องหมายวิชาพิเศษลูกเสือตามจำนวนที่ลูกเสือได้รับจากร้านค้าขององค์การค้าของคุรุสภา
  4. 4.      สำหรับวิชาพิเศษลูกเสือ ให้ใช้ข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (ฉบับที่ 14 ) ..2528

 

**********************

คติพจน์ คำปฏิญาณและกฏของลูกเสือ

                                               
คติพจน์ของลูกเสือสำรอง

      "ทำดีที่สุด"

คติพจน์ของลูกเสือสามัญ
      "จงเตรียมพร้อม"

คติพจน์ของลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
      "มองไกล"

คติพจน์ของลูกเสือวิสามัญ
      "บริการ"

                                               

     ข้าขอสัญญาว่า
     ข้อ ๑ ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตรย์
     ข้อ ๒ ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรอง และบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน

                                              
 
                                               

 

     ข้อ ๑ ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่
     ข้อ ๒ ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง

                                              
 
                                              

                ด้วยเกียรติของข้า  ข้าขอสัญญาว่า

                ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์

                ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ

                ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ

                                              

                ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติ  เชื่อถือได้

                ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์  และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ

                ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น

                ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก

                ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย

                ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์

                ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา  และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ

                ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริง  และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก

                ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์

                ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ

 

ประวัติลูกเสือไทย


 

         การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่อาฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ

         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2454 มีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ต่อจากนั้นอีก 2 เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454 ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง 
          จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ” ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง” 
 


 

            ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน 4 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 (1st World Scout Jamboree) ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ปี พ.ศ. 2465 คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 31 ประเทศ ประเทศทั้ง 31 ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา

ปี พ.ศ. 2467 ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย 10 คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2468

 

 
 

ประวัติศาสตร์ลูกเสือไทย

พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911)
       - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงก่อตั้งกิจการลูกเสือไทย เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454

พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) 
     - ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 1 ณ ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922)
     - คณะลูกเสือแห่งชาติ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชาลูกเสือโลก

พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) 
     - ส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทยไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 2 ณ ประเทศเดนมาร์ก

พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) 
     - จัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (1st National Jamboree)

พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) 
     - เป็นสมาชิกของสำนักงานลูกเสือภาคตะวันออกไกล ซึ่งเพิ่งจัดตั้งขึ้น ขณะนั้นมีประเทศสมาชิกอยู่ 10 ประเทศ

พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) 
     - เฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีการลูกเสือไทย

พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) 
     - เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บังคับบัญชาลูกเสือภาคตะวันออกไกล ครั้งที่ 3 (3rd Far East Scout Conference) ณ ศาลาสันติธรรม

 

 

ที่มา http://www.thapluang.ac.th/scoutthapluang/scoutthapluang.html

ประวัติลูกเสือโลก

 

ประวัติลูกเสือโลก

โรเบิร์ต สตีเฟนสัน สไมธ์ เบเดน-โพเอลล์ (Robert Stephenson Smyth Baden - Powell) หรือมักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า ลอร์ด เบเดน-โพเอลล์ และรู้จักกันดีในวงการลูกเสือในนาม บี.พี. (B.P.) คือผู้ที่ให้กำเนิดกิจการลูกเสือ (SCOUT) ขึ้นมาในโลกใบนี้ การกำเนิดของลูกเสือไม่ได้เกิดขึ้นเพียงข้ามคืน แต่บ่มเพาะอยู่ในตัวของท่าน บี.พี. มาอย่างยาวนาน
บี.พี. มีพี่น้อง 7 คน อยู่กับมารดา โดยกำพร้าบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ในวัยเด็กของท่านแสดงให้เห็นถึงนิสัยรักผจญภัย และชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง ท่านมักจะเดินทางไกลไปพักแรมร่วมกับพี่น้องของท่านตามที่ต่าง ๆ ในอังกฤษ ชอบท่องเที่ยวในป่ารอบโรงเรียน ซุ่มดูสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังเป็นผู้รักษาประตูมือดี และเป็นนักแสดงละครที่ได้รับความนิยมในโรงเรียน รวมทั้งรักดนตรี และวาดภาพอีกด้วย

เมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้เข้าร่วมกับกองทหารม้าของอังกฤษไปประจำอยู่ที่อินเดีย ความสามารถอันโดดเด่นด้านการใช้ชีวิตกลางแจ้งของท่าน แสดงให้เห็นจากการที่ท่านได้รับรางวัลการล่าหมูป่าบนหลังมาด้วยหอกเล่มเดียว (Pig Sticking) ซึ่งเป็นกีฬาที่อันตราย และได้รับความนิยมอย่างมาก

ในปี ค.ศ. 1887 บี.พี. ได้ไปประจำการอยู่ในแอฟริกา ซึ่งต้องรบกับชนเผ่าพื้นเมืองที่ป่าเถื่อนดุร้าย ไม่ว่าจะเป็น ซูลู อาซันติ หรือมาตาบีลี และด้วยความสามารถของท่านในการสอดแนม การสะกดรอย รวมทั้งความกล้าหาญของท่าน ทำให้ท่านเป็นที่หวาดกลัวของบรรดาชนพื้นเมืองจนถึงกับตั้งฉายาท่านว่า "อิมปีซ่า" (Impeesa) หมายความว่า "หมาป่าผู้ไม่เคยหลับนอน" และด้วยความสามารถของท่าน ทำให้ท่านได้เลื่อนยศอย่างรวดเร็ว

ในปี ค.ศ. 1889 อังกฤษมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐทรานสวาล พันเอก เบเดน-โพเอลล์ ได้รับคำสั่งให้นำทหารม้าสองกองพันเดินทางไปป้องกันเมืองมาฟอีคิง ซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญ เพราะตั้งอยู่ใจกลางของแอฟริกาใต้ ที่นี่เองเป็นสถานที่ที่ทำให้ท่านได้รับชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ในการรักษาเมืองไว้จากเงื้อมมือของข้าศึกที่ล้อมอยู่ด้วยกำลังมากกว่าอย่างมหาศาลไว้ได้ถึง 217 วัน จนกระทั่งกองทหารของอังกฤษได้บุกเข้าไปช่วยเหลือเป็นผลสำเร็จ 

หลังจากศึกคราวนี้ ท่านได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และได้รับการนับถือจากชาวอังกฤษให้เป็นวีรบุรุษ

ในปี ค.ศ. 1901 บี.พี. เดินทางกลับไปยังอังกฤษ และด้วยชื่อเสียงของท่านในฐานะวีรบุรุษ ทำให้หนังสือที่ท่านเขียนขึ้นเพื่อให้ทหารอ่าน ชื่อ "Aids to Scoutting" หรือ "การสอดแนมเบื้องต้น" ได้รับความนิยมจนกระทั่งนำไปใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชายมากมาย

จุดนี้เอง ทำให้ บี.พี. เกิดประกายความคิดถึงโอกาสที่จะพัฒนาเด็กอังกฤษให้เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็ง เพราะถ้าหนังสือสำหรับผู้ใหญ่เกี่ยวกับการปฏิบัติการสอดแนม สามารถดึงดูดความสนใจของเด็กได้ ถ้าท่านทำหนังสือสำหรับเด็กโดยเฉพาะก็คงจะได้ผลมากยิ่งขึ้น 

บี.พี. จึงเริ่มศึกษาเรื่องราวของการฝึกอบรมเด็กจากทุกยุคทุกสมัย และนำประสพการณ์ในอินเดีย และแอฟริกา มาดัดแปลง และค่อย ๆ พัฒนาความคิดเกี่ยวกับการลูกเสืออย่างช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง จนกระทั่งฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1907 ท่านจึงได้รวบรวมเด็กยี่สิบคน ไปพักแรมกับท่านที่เกาะบราวซี (Brownsea) ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการอยู่ค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรกของโลก และประสพผลสำเร็จอย่างงดงาม

 

ต้นปี ค.ศ. 1908 บี.พี. ได้จัดพิมพ์คู่มือการฝึกอบรมขึ้น แบ่งออกเป็นหกตอนในชื่อ "Scoutting for Boys" หรือ "การสอดแนมสำหรับเด็ก" ซึ่งมีภาพประกอบที่เขียนโดยตัวท่านเองอยู่ด้วย เมื่อหนังสือเริ่มวางจำหน่าย แม่แต่ตัวท่านเองก็ไม่นึกไม่ฝันว่า มันจะเป็นจุดที่ทำให้เกิดกองลูกเสือขึ้นมากมาย ไม่เฉพาะในอังกฤษเท่านั้น แต่แพร่หลายไปในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย

เมื่อกิจการลูกเสือเติบโตขึ้น บี.พี. ได้มองเห็นโอกาสที่จะได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ด้วยการใช้การลูกเสือบ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองดี แทนที่จะต้องมาฝึกผู้ใหญ่ให้เป็นทหาร ท่านจึงได้ลาออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1910 ขณะที่มียศพันโท เพื่อเดินเข้าสู่ชีวิตที่ท่านเรียกว่า "ชีวิตที่สอง" (Second Life) ที่ให้บริการโลกใบนี้ด้วยกิจการลูกเสือ และได้รับผลรางวัลเป็นความรักและนับถือจากลูกเสือทั่วโลก

ปี ค.ศ. 1912 บี.พี. เดินทางรอบโลกไปพบปะกับลูกเสือในประเทศต่าง ๆ และเริ่มต้นเสริมสร้างการเป็นพี่น้องกันของลูกเสือทั่วโลก น่าเสียดายที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้งานนี้ต้องหยุดชงักลงชั่วขณะ แต่ก็เริ่มสานต่อหลังจากสงครามสิ้นสุดลง
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1920 ก็ได้จัดให้มีการชุมนุมลูกเสือระหว่างประเทศขึ้นในกรุงลอนดอน ซึ่งถือเป็นการชุมนุมลูกเสือโลกเป็นครั้งแรก (1st World Jamboree) และในคืนวันสุดท้ายของการชุมนุม บรรดาลูกเสือที่เข้าร่วมชุมนุมก็ร่วมกันประกาศให้ บี.พี. ดำรงตำแหน่งประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World)
และเมื่อกิจการลูกเสือดำเนินมาครบ 21 ปี พระเจ้ายอร์ชที่ 5 ก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ท่านเป็นขุนนาง มีชื่อยศว่า Lord Baden Powell of Gilwell

เมื่อ บี.พี. มีอายุครบ 80 ปี กำลังของท่านก็เริ่มทรุดลง ท่านได้กลับไปพักผ่อนในช่วงบั้นปลายชีวิตในแอฟริกาที่ท่านรัก และถึงแก่กรรมในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1941 เมื่อมีอายุ 84 ปี


ค.ศ. 1907 - มีการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือเป็นครั้งแรก ที่เกาะบราวซี 

ค.ศ. 1908 - หนังสือ Scoutting for Boys ตีพิมพ์ และเริ่มกำเนิดกองลูกเสือขึ้นในหลายประเทศ 

ค.ศ. 1909 - จัดตั้งสำนักงานลูกเสืออังกฤษ และมีการชุมนุมลูกเสืออังกฤษเป็นครั้งแรก 

ค.ศ. 1910 - จัดตั้งกองลูกเสือหญิง (Birl Guide) โดยมีแอกนีส น้องสาวของ บี.พี. เป็นหัวหน้า 

ค.ศ. 1911 - จัดตั้งกองลูกเสือสมุทร 

ค.ศ. 1912 - บี.พี. เดินทางไปเยี่ยมลูกเสือในประเทศต่าง ๆ รอบโลก 

ค.ศ. 1914 - เกิดสงครามโลกครั้งแรก บี.พี. มอบลูกเสือให้ทำหน้าที่ช่วยทหาร เช่น รักษาสะพาน และสายโทรศัพท์ ทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว ช่วยงานในโรงพยาบาล 

ค.ศ. 1916 - จัดตั้งกองลูกเสือสำรอง 

ค.ศ. 1918 - จัดตั้งกองลูกเสือวิสามัญ (Rover Scout) 

ค.ศ. 1919 - ตั้งกิลเวลล์ปาร์ด (Gilwell Park) และเริ่มดำเนินการฝึกอบรมวิชาผู้กำกับลูกเสือขั้นวูดแบดจ์ 

ค.ศ. 1920 - มีการชุมนุมลูกเสือโลกครั้งแรกที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ บี.พี. ได้รับเลือกให้เป็นประมุขของคณะลูกสือโลก (Chief Scout of the World) 

ค.ศ. 1922 - บี.พี. เขียนหนังสือ "Rovering to Success" หรือ "การท่องเที่ยวสู่ความสำเร็จ" ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับลูกเสือวิสามัญ 

ค.ศ. 1926 - จัดตั้งกองลูกเสือพิการ 

ค.ศ. 1937 - บี.พี. ได้รับพระราชธานบรรดาศักดิ์เป็น Lord Baden Powell of Gilwell 

ค.ศ. 1941 - บี.พี. ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี