4 1 3 2 เมนูกิจกรรม
เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ
ตัวอย่างผลงาน ฮักเมาหละปูน สานฝัน เถ้าธุลี ทาบิ จิ-เก็ด-ทา-ยา คลังสื่อการเรียนรู้
การตัดต่อภาพยนตร์สั้น  การตัดต่อ เป็นขั้นตอนหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ที่มีความสำคัญมาก โดยผู้ตัดต่อจะต้องนำภาพและเสียงที่ได้จาก การถ่ายทำ มาตัดต่อตามที่บทภาพยนตร์เขียนไว้ และตามที่ผู้กำกับต้องการ ดังนั้น เพื่อให้ภาพยนตร์มีคุณภาพ นักเรียนควร ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการตัดต่อภาพยนตร์สั้น ซึ่ง "ความรู้เบื้องต้นที่นักเรียนจำเป็นต้องคำนึงถึง และตระหนัก ทุกครั้งที่ทำการตัดต่อ" มีดังต่อไปนี้
1. การตัดต่อทุกครั้งควรมีเหตุผล และแรงจูงใจ ในการตัดต่อเสมอ แรงจูงใจที่ว่านี้ คือความมีเหตุผลในการเลือก ช็อตสั้นๆ ที่มีความหมายต่อฉากนั้นๆ ของเรื่องมาใส่ หรือการเลือกเสียงนั้นๆ มาประกอบฉาก ซึ่งอาจเป็น การรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันก็ได้ ตัวอย่างเช่น ในฉาก ที่นักแสดงเดินผ่านสุสานในยามวิกาล จู่ๆ ก็มีเสียง สุนัข หอนดังขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องมีภาพสุนัขก็ได้ เสียงสุนัขที่ ดังขึ้น เป็นสิ่งที่เร้าอารมณ์ให้ผู้ชมคล้อยตามมากยิ่งขึ้น หรือในฉากที่นางเอกกำลังทาครีมทาผิว ยี่ห้อหนึ่งอยู่
แล้วถึงตัดภาพไปที่ชื่อยี่ห้อครีม เพื่อเป็นการโฆษณาสินค้า โดยการตัดต่อแบบนี้จะช่วยให้ผู้ชมเข้าถึงอารมณ์มากยิ่งขึ้น 2. ช็อตต่อไปต้องเป็นภาพที่มีข้อมูลต่างจากช็อตก่อนหน้าเสมอ ช็อตใหม่ที่นำมาเปลี่ยน ควรจะเป็นภาพที่มีข้อมูลต่างไปจากเดิม ถ้าหากภาพนั้นไม่ต่างจากช็อตก่อนหน้า ก็ไม่ควร นำมาใส่ในฉาก ซึ่งถ้าหากยิ่งมีข้อมูลมาก ยิ่งทำให้ผู้ชมเข้าใจ และเข้าถึงอารมณ์ของภาพยนตร์ได้มากขึ้นเช่นกัน โดยเป็น หน้าที่ของผู้ตัดต่อที่จำเป็นต้องนำภาพที่มีความต่างกันของข้อมูลมาร้อยเรียงให้ได้มากที่สุด 3. องค์ประกอบของภาพในช็อตต้องสมเหตุสมผล เป็นที่ทราบกันดีว่าการถ่ายทำเป็นสิ่งสำคัญต่อการตัดต่อมาก ถ้าหากการถ่ายทำจัดองค์ประกอบของภาพแย่ การตัดต่อก็จะยากตามมา เพราะ ผู้ตัดต่อต้องเลือกใช้ฟุตเทจที่มีองค์ประกอบดี และสามารถเชื่อมถึงช็อตอื่นได้อย่างสมเหตุ สมผล
4. เสียงประกอบฉากมีความสำคัญในการสร้างจุดสนใจ เสียง เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยเร้าอารมณ์ผู้ชมให้รู้สึกตาม เนื้อเรื่องได้ เช่น การใส่เสียงอึกทึกครึกโครมในฉากที่พระเอกประกาศ ตัดพี่ตัดน้องกับญาติของตนเองด้วยอารมณ์โกรธจัด หรืออาจใส่ช่วงที่ เกิดสงครามทหารกำลังฆ่าฟันกัน เป็นต้น ถ้าหากใส่เสียงมาก่อนภาพ จะเป็นการบอกกล่าวให้ผู้ชมรับรู้ว่าจะมีการเปลี่ยนฉาก เปลี่ยนสถานที่ หรืออาจเกิดเหตุการณ์ใดในฉากต่อไป ดีหรือร้าย เพื่อเตรียมรับมือ นอกจากนี้ การตัดแบบเสียงมาก่อนภาพยังสามารถดึงความสนใจของ ผู้ชมได้อีกด้วย
 ช็อตแรกกับช็อตถัดไป เสียงควรมีความสัมพันธ์กัน เช่น ในช็อตภาพระยะไกลปานกลางได้ยินเสียงผู้คนกำลัง รับประทานอาหาร และพูดคุยกันภายในร้านอาหารจีน แต่เมื่อตัดมาภาพระยะใกล้เป็นภาพอาหารบนโต๊ะ ซึ่งแทนสายตาของ พระเอกที่กำลังมอง ก็ควรมีเสียงคนพูดรอบข้าง แต่อาจเบากว่าเดิม จะช่วยทำให้รู้สึกเหมือนกับตัวละครกำลังตกอยู่ในภวังค์ ของตนเอง จนได้ยินเสียงรอบข้างเบาลง และอาจเพิ่มเสียงเพลงประกอบอื่นๆ เพื่อเร้าอารมณ์เข้าไปได้ เป็นต้น 5. ควรเลือกใช้มุมกล้องที่แตกต่างกันต่อช็อตกัน ในขั้นตอนการถ่ายทำ ผู้กำกับจะสั่งให้ตากล้องถ่ายไว้หลายมุม ซึ่งนั่นก็คือการใช้มุมกล้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อฝ่าย ตัดต่อต้องเลือกตัดคลิป ไม่ควรตัดต่อช็อตสองช็อตโดยใช้มุมกล้องเดียวกันต่อกัน ควรใช้มุมที่แตกต่างกันมาต่อช็อตกันมากกว่า นอกจากนี้ การตัดต่อคลิป มุมกล้องของแต่ละช็อตไม่ควรแตกต่างกันเกิน 180 องศา และมักจะน้อยกว่า 45 องศา เมื่อถ่าย บุคคลเดียวกัน ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนได้ตามประสบการณ์ทำงานของผู้กำกับและทีมงาน
6. คำนึงถึงความต่อเนื่องเสมอ ฝ่ายตัดต่อต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องทุกครั้งที่ตัด ความต่อเนื่องที่ว่านั้นก็คือ ความเหมือนของแต่ละช็อต ทั้งความเหมือนของตำแหน่ง ทิศทาง การเคลื่อนไหวของตัวละคร และเสียงที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมุมกล้องใหม่ นักแสดงต้องแสดงกิริยาอาการที่เหมือนเดิมทุกประการ เพื่อที่เมื่อนำมุมกล้อง ที่ต่างกันมาต่อกัน จะเกิดความแนบเนียนและสมจริง เช่น ถ้าช็อตแรกนักแสดงถือแก้วน้ำด้วยมือซ้าย ช็อตต่อไปนักแสดงก็ต้อง ถือแก้วน้ำมือซ้ายเช่นเดียวกัน หรือถ้าหากมีคนเดินผ่านด้านหลังของนักแสดงไปในทางซ้าย เมื่อปรากฏตัว คนที่เดินผ่านก็ควร อยู่ทางซ้ายของนักแสดง เป็นต้น ผู้ตัดต่อต้องคำนึงถึงตำแหน่งของตัวละคร เช่น ถ้าหากช็อตแรกตัวละครกำลังนั่งซักผ้าอยู่ในน้ำที่ริมแม่น้ำ แต่ช็อต ต่อมากลับมาซักผ้าอยู่บนทรายที่ริมแม่น้ำ ถึงแม้ว่าจะอยู่ริมแม่น้ำเช่นเดียวกัน แต่ตำแหน่งไม่ตรงกันก็ไม่สามารถนำมาต่อ ช็อตกันให้สมจริงได้ เป็นต้น เสียง ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ผู้ตัดต่อต้องคำนึงถึงความต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนภาพไปแล้ว แต่ก็ควรจะมี เสียงจากตัวละครในช็อตเดิมอยู่ ถ้าหากตัวละครนั้นยังมีบทบาทกับฉากนั้นๆ เช่น ภาพแม่กำลังตะโกนด่าลูกที่กำลังวิ่งออก จากบ้าน ตัดภาพมาที่ลูกกำลังวิ่งหนีแม่ออกจากบ้านได้ไม่ไกลนัก ถึงแม้ไม่มีภาพแม่อยู่ในฉาก แต่ก็ควรมีเสียงแม่ที่ด่าลูกไล่หลัง อยู่ แต่อาจเบาลงจนเงียบไปได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ในฉากเดียวกัน เวลาเดียวกัน ควรจะมีเสียงปูพื้น (Background Music) ที่เหมือนกัน
 ภาพ ความต่อเนื่องในเรื่องของทิศทาง ขณะที่ตัวละครกำลังขับรถมอเตอร์ไซค์ผ่านทางด้านขวาของนางเอก เมื่อหยุดรถแล้วพูดคุยกัน อีกมุมกล้องหนึ่ง ตัวละครนั้นก็ยังอยู่ด้านขวาของนางเอกเช่นเดิม
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.