4 1 3 2 เมนูกิจกรรม
เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ
ตัวอย่างผลงาน ฮักเมาหละปูน สานฝัน เถ้าธุลี ทาบิ จิ-เก็ด-ทา-ยา คลังสื่อการเรียนรู้
รูปแบบการเชื่อมภาพ (Transition)  การตัดต่อ คือ การนำวิดีโอแต่ละช็อต มาเชื่อมต่อกันให้เป็นเรื่องราว โดยนำรูปแบบการตัดต่อต่างๆ มาปรับใช้ ซึ่งการตัดต่อแต่ละรูปแบบจะให้อารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากมักใช้รูปแบบดังต่อไปนี้ 1. การตัดตรง (The Cut) การตัดตรง หรือที่เรียกกันว่า การตัดชน คือ การเชื่อมระหว่างภาพ 2 ภาพ โดยการตัดตรงๆ แล้วเลือกตัดเอาบาง ภาพที่เหมาะสมมาเรียงต่อกัน (ชนกัน) การตัดตรงมีข้อดี คือ ช่วยกระชับเนื้อหาของเรื่องให้สั้นลง ด้วยการตัดเนื้อหาที่ไม่จำเป็น หรือไม่เหมาะสมในช็อตนั้นออก ทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลที่เหมาะสมและไม่น่าเบื่อ อีกทั้งยังทำให้ภาพยนตร์มีความเป็นธรรมชาติ มากที่สุด ดังนั้น ในการทำภาพยนตร์จึงนิยมใช้วิธีตัดตรงมากที่สุด
2. การเลือนภาพ (Fade) การเลือนภาพ หรือที่เรียกกันว่า การเฟด คือ การเชื่อมภาพอย่างช้าๆ จากภาพใดภาพหนึ่งไปยังฉากดำสนิท หรือ ฉากขาว หรืออาจเป็นการเชื่อมภาพจากจอดำสนิทหรือขาวไปเป็นภาพใดภาพหนึ่งก็ได้ การเฟดจะเป็นการตัดแบบค่อยเป็น ค่อยไปอย่างนุ่มนวล ต่างจากการตัดตรง โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 2.1 เฟดอิน (Fade In) คือ การที่ภาพค่อยๆ ปรากฏเด่นชัดออกมา จากฉากดำสนิทหรือฉากขาว นิยมใช้กับ การเริ่มต้นของเรื่องราว เหตุการณ์ หรือวันใหม่
 2.2 เฟดเอาท์ (Fade Out) คือ การที่ภาพค่อยๆ เลือนจางหายไปสู่ฉากดำสนิทหรือขาว มักนิิยมใช้กับการจบสิ้น หรือการสิ้นสุดของเรื่องราว เหตุการณ์
3. การตัดภาพจางซ้อน (The Dissolve) การตัดภาพจางซ้อน หรือที่เรียกว่า การผสมภาพ (The Mix) คือ การนำภาพในช็อตหนึ่ง มาวางซ้อนทับกับภาพ อีกช็อตหนึ่ง ซึ่งภาพในช็อตแรกกำลังจะจางหายไป แล้วภาพที่ซ้อนทับกำลังจะปรากฏขึ้น การผสมภาพใช้เพื่อเชื่อมโยง เหตุการณ์ระหว่างช็อตที่มีความเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ซึ่งสามารถช่วยย่นเวลาให้สั้นเข้ามาและทำให้เหตุการณ์ดำเนินไป อย่างราบลื่นได้
4. การตัดภาพแบบกวาด (Wipe) การตัดภาพแบบกวาด คือ การตัดภาพแบบกวาดภาพเก่าออกไป แล้วเอาภาพใหม่มาแทนที่ โดยอาจกวาดภาพ แนวนอน จากซ้ายไปขวา กวาดภาพแนวตั้ง จากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบน กวาดภาพแนวเฉียงจากมุมซ้ายหรือมุมขวา และกวาดภาพในรูปทรงเรขาคณิต เช่น วงกลม สี่เหลี่ยม เป็นต้น ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของวัตถุ และตัวละคร การตัดภาพแบบกวาด ไม่นิยมใช้กับการตัดต่อภาพยนตร์ เพราะจะทำให้ภาพยนตร์ไม่สมจริง ดังนั้น จึงเหมาะ สำหรับการทำวิดีโอเพื่อการนำเสนอมากกว่า
 ผู้ตัดต่อต้องคำนึงถึงเรื่องราวของภาพยนตร์ขณะตัดต่อว่าเป็นไปอย่างราบรื่น นุ่มนวลหรือไม่ ถ้าหากตัดต่อไม่ราบรื่น ผู้ชมจะรู้สึกว่าภาพยนตร์มีการกระตุก เรียกว่า ภาพกระโดด (Jumping Cut) ซึ่งการตัดต่อในลักษณะนี้ อาจถูกมองว่าเป็น จุดด้อยหรือข้อผิดพลาดของภาพยนตร์ที่ไม่น่าประทับใจได้ นอกเสียแต่ว่าทีมผู้ผลิตภาพยนตร์บางเรื่อง ต้องการตัดแบบ ภาพกระโดดจริงๆ เท่านั้น
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.