4 1 3 2 เมนูกิจกรรม
เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ
ตัวอย่างผลงาน ฮักเมาหละปูน สานฝัน เถ้าธุลี ทาบิ จิ-เก็ด-ทา-ยา คลังสื่อการเรียนรู้
 การตัดต่อที่มีคุณภาพ เกิดจากผู้ตัดต่อที่ดี ซึ่งกว่าจะเป็นผู้ตัดต่อที่ดีได้นั้น ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การตัดต่อที่มีด้วย หากผู้ตัดต่อคนใดมีประสบการณ์มาก ก็จะมีเทคนิคที่ใช้ในการตัดต่อมากเช่นกัน ดังนั้น สำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นสำหรับการตัดต่อ สามารถศึกษาเทคนิคการตัดต่อ ได้ดังต่อไปนี้
คลิปวิดีโอ เรื่อง เทคนิคการตัดต่อภาพยนตร์สั้น 1. ระวังจังหวะการลุกนั่งของตัวละคร
 จากภาพ จะสังเกตได้ว่า ศีรษะของตัวละครที่กำลังยืนนั้นหลุดเฟรม ซึ่งถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวละครขาดหายไป จะทำให้ฉากนี้เป็นฉากที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ผู้ตัดต่อจึงควรเลือกคลิปที่เห็นองค์ประกอบครบถ้วนมาใส่แทน 2. อย่าตัดแช่อยู่มุมเดิม ถ้าหากช็อตหลักเป็นช็อตยาว ควรใช้การตัดต่อแบบแทรกคัทเข้ามาช่วย โดยตัดภาพแคบวางแทรกกับภาพกว้าง ให้ต่อเนื่องกัน ไม่ควรใช้ภาพมุมกว้างเพียงมุมเดียว เพราะ จะทำให้ภาพยนตร์ดูน่าเบื่อ ในฉากที่มีการสนทนา ควรตัดให้เห็น ทั้งผู้พูด และผู้ฟังเป็นช่วงๆ ไป จึงจะมีความน่าสนใจ การตัดต่อที่มีตัวละครเพียงตัวเดียว ให้พยายามถ่ายทั้งภาพกว้าง และภาพแคบเก็บไว้ใช้ตัดต่อ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ มุมเดิม
3. ไตเติ้ลช่วยดึงดูด การสร้างไตเติ้ลที่สวย และโดดเด่น เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สามารถจะดึงดูดความสนใจของผู้ชมเอาไว้ได้ ดังภาพด้านล่าง ชื่อเรื่องที่แปลกและโดดเด่น ก็จะช่วยดึงดูดความน่าสนใจจากผู้ชมได้
4. เน้นเนื้อไม่เน้นน้ำ เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำภาพยนตร์สั้นนั้น มีเวลาที่จำกัด ดังนั้น ผู้ตัดต่อจึงควรตัดส่วนที่ไม่สำคัญออก แล้วไปเน้น ส่วนที่สำคัญแทน โดยใช้การตัดต่อแบบคัทอะเวย์เข้ามาช่วย เช่น ฉากที่ตัวละครต้องเปิดประตูรั้วเพื่อเข้าไปในบ้าน ต้องถ่าย ตามตัวละครที่เดินจากหน้าบ้านไปถึงช่วงที่ตัวละครเปิดประตูข้างในบ้านเพื่อเข้าไปในตัวบ้าน ฉากนี้คงต้องใช้เวลานาน พอสมควร แต่ถ้าเลือกใช้การคัทอะเวย์ คือ ตัดภาพจากตัวละครที่กำลังเปิดประตูรั้วหน้าบ้านแล้วเดินเข้าไป จากนั้นก็ตัดมาที่ ตัวละครกำลังเลื่อนปิดประตูด้านในบ้าน เป็นต้น 5. ระวังเสียงรบกวน ในภาพยนตร์ไม่ควรมีเสียงรบกวนเข้ามาแทรก เพราะจะทำให้ผู้ชมเสียบรรยากาศในการรับชม ดังนั้น ผู้ตัดต่อจึงควร เลือกคลิปที่มีเสียงแทรกน้อยที่สุด แล้วนำไปปรับแก้ไข ลบเสียงรบกวน (Noise) ออกด้วยโปรแกรม Adobe Audition แต่ถ้าเสียงรบกวนมีมากจนไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ก็อาจเลือกใช้การพากย์เสียงเข้าไปแทนเสียงจริง โดยเสียงพากย์ของ แต่ละคน จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป เราสามารถเลือกใช้เสียงให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่่องได้ 6. คำบรรยายประกอบที่เหมาะสม ขนาดตัวหนังสือของคำบรรยายประกอบไม่ควรมีขนาดที่ใหญ่หรือเล็กมากเกินไป เพราะถ้าหากใหญ่เกินไปก็จะไม่ สวยงาม และบดบังองค์ประกอบอื่นๆ ในภาพ แต่ถ้าหากเล็กเกินไป ก็จะทำให้ผู้ชมมองไม่เห็น หรืออ่านไม่ออกได้ ดังนั้น ขนาดตัวหนังสือของคำบรรยายควรมีขนาดที่เหมาะสม ดังภาพด้านล่าง
7. เพิ่มอรรถรสด้วยดนตรี และเสียงประกอบ เสียงประกอบ (Sound Effect) และดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Soundtrack) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเร้าอารมณ์ ของเรื่องราวในภาพยนตร์ให้สื่อความหมายหนักแน่นมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ตัดต่อจึงต้องมีความสามารถในการเลือกใช้ เสียง และดนตรีประกอบที่เหมาะสมกับฉากต่างๆ 8. อย่าตัดชนเฟรมที่ไม่เท่ากัน สังเกตช่องว่างบนศีรษะจากภาพด้านล่าง ถ้าหากนำเฟรมที่ไม่เท่ากันมาตัดชนกัน จะทำให้ผู้ชมสับสนถึงตำแหน่งของ ตัวละครนั้นๆ และทำให้เกิดภาพกระโดดได้ (Jump Cut)
9. อย่าตัดฉากกะทันหัน ขณะที่ตัวละครกำลังแสดงอยู่นั้น ไม่ควรตัดไปฉากอื่นกะทันหัน โดยเฉพาะฉากดราม่าที่ตัวละครกำลังแสดงความ โศกเศร้า ถ้าหากตัดไปฉากอื่นขณะที่ตัวละครยังแสดงไม่เสร็จ จะเป็นการขัดอารมณ์ของผู้ชมเป็นอย่างมาก อีกทั้ง ยังไม่ควรตัด ภาพเข้าฉากดำหรือขาวทันที ควรเฟดก่อนเข้าฉากดำเสมอ เพื่อความนุ่มนวลของภาพยนตร์ นอกจากผู้กำกับจะต้องการจริงๆ 10. ไม่ควรนำเอฟเฟกต์การนำเสนอมาใส่ในภาพยนตร์ การตัดต่อภาพยนตร์ ไม่ควรนำการตัดต่อแบบกวาด (The Wipe) และเอฟเฟกต์การนำเสนอมาใช้ เพราะจะทำให้ เหมือนการนำเสนองานมากเกินไป ดังนั้น ในการตัดต่อภาพยนตร์สั้น จึงนิยมใช้การตัดตรง (The Cut) มากที่สุด ส่วนการ เลือนภาพ (Fade) นิยมรองลงมา และการจางซ้อน (Dissolve) อาจจะไม่ค่อยพบเห็นบ่อยมากนัก 11. ไม่ควรนำฉากมืดมาใช้
 จะสังเกตเห็นจากภาพด้านบนได้ว่า ฉากนี้มืดเกินไป จนทำให้ไม่เห็นองค์ประกอบของหลายๆ อย่าง และเกิดจุดสีขึ้น บนภาพ (Noise) ดังนั้น จึงควรนำไฟวิดีโอมาเพิ่มความสว่างของห้องขณะถ่ายทำ เพื่อให้เห็นใบหน้าของตัวละครชัดขึ้น 12. เคลียร์ฉากหลังก่อนถ่ายทำ ก่อนเริ่มถ่ายทำควรสำรวจฉากหลังทุกครั้งว่ามีสิ่งของใดวางเกะกะไว้หรือไม่ หากมีก็ต้องเคลื่อนย้ายออกไปจากฉาก เพราะ ถ้าหากฉากหลังไม่สะอาด หรือมีสิ่งสะดุดตา จะทำให้ผู้ชมสนใจฉากหลังมากกว่าตัวละคร นอกจากนี้ ยังควรเลือก สถานที่ถ่ายทำที่มีรถ และคนพลุกพล่านน้อย เพราะ สิ่งเหล่านี้ เมื่อผ่านเข้าเฟรมมาแล้ว มักจะเป็นจุดสนใจที่ดึงความสนใจ ของผู้ชมไปบ่อยๆ
 จากภาพด้านบน ตัวหนังสือบนกระดานที่เห็นเด่นชัด กำลังเบนความสนใจของผู้ชมไปจากตัวละคร ดังนั้น จึงควร เคลียร์ฉากหลัง ด้วยการลบกระดานก่อนเริ่มถ่ายทำ 13. ควรใช้ภาพ Long Shot เมื่อเริ่มฉากใหม่ การเริ่มฉากใหม่ควรเปิดด้วยภาพ Long Shot หรือภาพระยะไกล เพื่อแสดงถึงภาพรวม หรือองค์ประกอบโดยรวม ของฉากนั้นก่อน จากนั้นจึงตัดภาพมาที่ Medium Shot และ Close Up ตามลำดับ ควรหลีกเลี่ยงการตัดภาพจาก Long Shot มาเป็น Close Up เพราะ อาจทำให้รู้สึก สะดุด ภาพกระโดดได้ ดังนั้น ในการตัดต่อต้องตัดเรียงจาก ภาพระยะไกล ปานกลาง และใกล้ ดังภาพด้านล่าง
14. ใช้ภาพ Medium Shot สลับกับภาพ Long Shot เมื่อตัดภาพ Medium Shot หรือภาพระยะใกล้ต่อกันบ่อยๆ ควรกลับมาตัดภาพ Long Shot ดังภาพด้านล่าง เพื่อความไม่น่าเบื่อของภาพยนตร์
15. ใช้ภาพ Close Up ของผู้พูดเพื่อให้เห็นใบหน้าที่ชัดเจน เมื่อตัวละครกำลังพูด หรือแสดงอารมณ์ผ่านทางใบหน้าควรใช้ภาพ Close Up หรือภาพระยะใกล้ เพื่อผู้ชมจะได้ เห็น ใบหน้า และอารมณ์ของตัวละครอย่างชัดเจน
16. ใช้ความต่อเนื่องเชื่อมช็อต แบบมุมชนมุม การดำเนินเรื่องในแต่ละครั้ง อาจมีบางฉากที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ในเรื่อง เพราะจะทำให้เรื่องราวดูยืดเยื้อ ดังนั้น ผู้ตัดต่อ จึงควรนำเทคนิคการเชื่อมช็อตมาใช้ หรือที่เรียกว่า การเชื่อมช็อตแบบแมทคัท (Match Cut) โดยอาศัยความเหมือน ของวัตถุ หรือตัวละครภายในฉาก 2 ฉาก
 จากภาพด้านบน จะเห็นว่าผู้ตัดต่อใช้ตัวละครที่กำลังแจกจดหมายเป็นการเชื่อมช็อต จากสถานที่หนึ่ง ไปยังตู้ จดหมายหน้าบ้าน โดยใช้ความเหมือนของจดหมายในทั้งสองฉาก ซึ่งเทคนิคนี้สามารถกระชับเวลาที่ใช้ในเรื่องได้เป็น อย่างมาก อีกทั้ง ยังทำให้เรื่องราวในภาพยนตร์ดูไม่น่าเบื่ออีกด้วย 17. แบ่งเฟรมภาพให้ลงเล็ก เพื่อกระชับเวลา ถ้าหากทำการตัดต่อแล้วพบว่า เวลาของภาพยนตร์ที่เหลือมีไม่มากพอ สำหรับการจัดเรียงคลิปทั้งหมดที่ต้องการ ใส่ลงไปได้ ดังนั้น ผู้ตัดต่ออาจเลือกใช้วิธีแบ่งเฟรมภาพให้มีขนาดเล็ก แล้วนำมาเรียงต่อกัน ดังภาพด้านล่างได้ วิธีนี้ จะช่วยให้ ประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่องได้ และนำเวลาที่เหลือไปใช้ในฉากอื่นๆ ต่อไป
เทคนิคการตัดต่อภาพยนตร์สั้น
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.