4 1 3 2 เมนูกิจกรรม
เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ
ตัวอย่างผลงาน ฮักเมาหละปูน สานฝัน เถ้าธุลี ทาบิ จิ-เก็ด-ทา-ยา คลังสื่อการเรียนรู้
เสียงประกอบภาพยนตร์สั้น  เสียงที่ใช้ในการตัดต่อภาพยนตร์ ส่วนใหญ่มักจะใช้อยู่ 3 ประเภท คือ เสียงพูด เสียงพากย์ (Dialoge / Voice) เสียงดนตรี (Music / Midi) และเสียงประกอบต่างๆ (Sound Effect) ซึ่งเสียงเหล่านี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมเรื่องราว ในภาพยนตร์ให้สื่อความหมายที่หนักแน่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Soundtrack) คือ ดนตรีที่คอยบรรเลง เป็นพื้นหลังขณะที่ภาพยนตร์กำลังดำเนินเรื่องต่อไปเรื่อยๆ ดนตรีประกอบภาพยนตร์ เป็นเสมือนการรวบรวมแก่นเรื่องทั้งหมดไว้ แล้วกลั่นกรองออกมาเป็นเสียงดนตรี ทำให้ ภาพยนตร์มีคุณค่า สนุก เร้าอารมณ์มากยิ่งขึ้น ภาพยนตร์ต่างประเทศส่วนใหญ่ มักจะให้ความสำคัญกับดนตรีประกอบนี้มาก โดยมีการจ้างผู้ประพันธ์เพลงที่มีความสามารถสูง มาแต่งดนตรีประกอบให้มีอารมณ์สอดคล้องกับแก่นเรื่อง แล้วทำให้ผู้ฟัง สามารถจินตนาการถึงเรื่องราว หรือแนวของภาพยนตร์นั้นได้ แต่การทำภาพยนตร์สั้น อาจไม่มีงบประมาณมากพอที่จะสร้าง ดนตรีประกอบด้วยตนเองได้ ดังนั้น จึงต้องมีการยืมดนตรีประกอบที่มีให้เลือกใช้ฟรีทั่วไปมาใช้ประกอบภาพยนตร์แทน ขอบคุณวิดีโอจาก TheAmericanGazette Youtube  ตัวอย่างดนตรีประกอบภาพยนตร์จากเรื่อง James Bond 007 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ สายลับ จากดนตรี เมื่อฟังจะรู้สึก ถึงการวิ่งวุ่นเพื่อไล่ตามหาความลับ ซึ่งก็หมายถึงสายลับนั่นเอง  ดนตรีประกอบแต่ละเพลง จะให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ตัดต่อต้องมีความสามารถในการเลือกดนตรีประกอบ ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง และอารมณ์ของตัวละครในแต่ละฉาก (Scene) ซึ่งแนวภาพยนตร์อาจมีหลากหลายแนว แต่ในการผลิต ภาพยนตร์สั้นอาจนำมาใช้เพียงไม่กี่แนว บทเรียนนี้จึงขอแนะนำ หลักการเลือกเสียงดนตรี และเสียงประกอบ ให้ เหมาะสมกับอารมณ์ และฉากที่พบบ่อยในภาพยนตร์สั้น ดังต่อไปนี้ 1. ฉากแอ็คชั่น (Action Scene) เป็นฉากที่สร้างความเร้าใจให้กับผู้ชมผ่านทางการใช้ความรุนแรง เช่น การต่อสู้ สงคราม เป็นต้น ซึ่งในฉากนี้ เสียง ดนตรีประกอบ (Soundtrack) ควรเป็นดนตรีที่มีความเร้ารุก ฮึกเหิม แฝงอุดมการณ์ในการต่อสู้ เสียงประกอบ (Sound Effect) ในฉากนี้ ควรเป็นเสียงกระทบกันของกล้ามเนื้อ เสียงโลหะกระทบกัน หรือาจจะเป็นเสียงปืน ขึ้นอยู่กับบทภาพยนตร์ ตัวอย่างดนตรีประกอบในฉากแอ็คชั่น ขอบคุณวิดีโอจาก n Beats ตัวอย่างเสียงประกอบในฉากแอ็คชั่น ขอบคุณวิดีโอจาก Jeffrey Griffit Youtube 2. ฉากผจญภัย (Adventure Scene) เป็นฉากที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมผ่านทางการเสี่ยงภัยของตัวละคร เช่น การหลบหนี การพบเจอกับอันตราย การเสี่ยงชีวิต หรือการไปในสถานที่ใหม่ๆ เป็นต้น ซึ่งในฉากนี้ เสียงดนตรีประกอบ (Soundtrack) ควรเป็นดนตรีที่มีความตื่นเต้น ความลุ้นระทึก เพราะ จะช่วยทำให้ผู้ชมติดตาม และลุ้นไปกับการเสี่ยงภัยของตัวละคร
ตัวอย่างดนตรีประกอบในฉากผจญภัย ขอบคุณวิดีโอจาก DAILY SOUNDS และ ThePrimeCronus Youtube 3. ฉากตลก (Comedy Scene) เป็นฉากที่มุ่งสร้างความสนุกสนาน และเสียงหัวเราะให้กับผู้ชม โดยตัวละครมักแสดงท่าทาง และมีบทสนทนาที่ตลก สนุกสนาน ซึ่งในฉากนี้ เสียงดนตรีประกอบ (Soundtrack) ควรเป็นดนตรีที่มีความร่าเริง สดใส เฮฮา เพื่อเรียกรอยยิ้ม และเสียง หัวเราะของผู้ชม เสียงประกอบ (Sound Effect) ในฉากนี้ ควรเป็นเสียงที่เน้นความบันเทิง ซึ่งส่วนมากเป็นเสียงที่สร้างขึ้น เช่น เสียง ปรบมือ เสียงเช็ดกระจก เสียงกา เป็นต้น เสียงเหล่านี้จะถูกนำมาประกอบกับการแสดง และคำพูดของตัวละคร เพื่อช่วยเพิ่ม ความตลกให้มีมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างดนตรีประกอบในฉากตลก ขอบคุณวิดีโอจาก mrAudioAgent Youtube ตัวอย่างเสียงประกอบในฉากตลก ขอบคุณวิดีโอจาก n Beats Youtube 4. ฉากดราม่า (Drama Scene) เป็นฉากที่สร้างความเศร้าสลดใจ ผ่านทางการแสดง และการเติบโตของตัวละคร ซึ่งในฉากนี้ เสียงดนตรีประกอบ (Soundtrack) และเสียงประกอบ (Sound Effect) ควรเป็นดนตรีที่ช้า เรียบ แสดงถึงความเศร้า สะเทือนใจ ดึงดูดอารมณ์ของ ผู้ชมให้หลุดเข้าไปในห้วงของความเศร้าโศก ตัวอย่างดนตรีประกอบในฉากดราม่า ขอบคุณวิดีโอจาก Mattia Cupelli Youtube ตัวอย่างเสียงประกอบในฉากดราม่า ขอบคุณวิดีโอจาก n Beats Youtube 5. ฉากสยองขวัญ (Horror Scene) เป็นฉากที่มุ่งสร้างความกลัวให้กับผู้ชม ซึ่งในฉากนี้ เสียงดนตรีประกอบ (Soundtrack) ควรเป็นดนตรีที่ช้า เนิบ เย็น แสดงถึงความหลอนที่น่าสะพรึงกลัว ดึงดูดอารมณ์ของผู้ชมให้หลุดเข้าไปในห้วงของความกลัว เสียงประกอบ (Sound Effect) ในฉากนี้ ควรเป็นเสียงที่เน้นความหลอน ซึ่งส่วนมาก มักไล่ระดับจากคลื่นเสียง ความถี่ต่ำเป็นความถี่สูง และจากเสียงที่ลอยแว่วมาเบาๆ ไปเป็นเสียงที่ดัง เพราะ จะช่วยทำให้ผู้ชมตกใจ หวาดกลัวได้หากนำมา ประกอบกับการแสดงของตัวละคร ตัวอย่างดนตรีประกอบในฉากสยองขวัญ ขอบคุณวิดีโอจาก Private Hell Productions Youtube ตัวอย่างเสียงประกอบในฉากสยองขวัญ ขอบคุณวิดีโอจาก Nicole McClelland Youtube 6. ฉากรักโรแมนติก (Romantic Scene) เป็นฉากที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักฉันชู้สาว ซึ่งในฉากนี้ เสียงดนตรีประกอบ (Soundtrack) และเสียงประกอบ (Sound Effect) ควรเป็นดนตรีที่ช้า ไพเราะ แสดงถึงความรักที่มีพลัง และมีคุณค่า ดึงดูดอารมณ์ของผู้ชมให้หลุดเข้าไปในห้วง ของความรัก ตัวอย่างดนตรีประกอบในฉากโรแมนติก ขอบคุณวิดีโอจาก Sumon Tienkarojanakul Youtube
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.