4 1 3 2 เมนูกิจกรรม
เทคนิคการตัดต่อวิดีโอ
ตัวอย่างผลงาน ฮักเมาหละปูน สานฝัน เถ้าธุลี ทาบิ จิ-เก็ด-ทา-ยา คลังสื่อการเรียนรู้
ประเภทการตัดต่อ  ประเภทการตัดต่อเป็นการสร้างความต่อเนื่องของเรื่องหรือเหตุการณ์ในภาพยนตร์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ชม เข้าใจเหตุการณ์ของเรื่อง และรู้สึกคล้อยตาม โดยผู้ตัดต่อจำเป็นต้องศึกษาเกี่ยวกับประเภทของการตัดต่อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. การตัดต่อแบบต่อเนื่อง (Continuity Editing)
 การตัดต่อแบบต่อเนื่อง คือ การตัดต่อที่ต้องการให้เนื้อหามีความต่อเนื่องระหว่างช็อตกับช็อต เพื่อให้ภาพยนตร์ มีความต่อเนื่องกัน ซึ่งจะมีความต่อเนื่องของช็อตที่สมบูรณ์มากเพียงใด ขึ้นอยู่กับการถ่ายทำ มุมกล้องที่ใช้ และผู้ตัดต่อ การตัดต่อในลักษณะนี้ มักพบเห็นในภาพยนตร์ทั่วไป แม้ว่าช็อตบางช็อตจะไม่ต่อเนื่องกันก็สามารถใช้เทคนิคการตัดต่อ ที่จะช่วยทำให้ผู้ชมรู้สึกไม่สะดุดได้ โดยการตัดต่อแบบต่อเนื่องมีหลายรูปแบบ ดังนี้  1.1 การตัดต่อแบบแมทคัท (Match Cut) การตัดต่อแบบแมทคัท คือ การตัดต่อโดยใช้ความกลมกลืนกันของช็อตหนึ่งกับอีกช็อตหนึ่ง เช่น ขนาดภาพ มุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง หรือความคล้ายของวัตถุต่างๆ เป็นต้น มาเชื่อมช็อตกัน แต่ถ้าหากตัดต่อแล้วไม่ต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า ภาพกระโดด (Jump Cut) จะทำให้ผู้ชมเกิดความสับสนต่อตำแหน่งของตัวละคร หรือลำดับเหตุการณ์ของเรื่องได้ ดังนั้น ก่อนถ่ายทำผู้กำกับต้องวางแผนอย่างรัดกุม และขณะถ่ายทำ ผู้กำกับต้องคอยกำชับตากล้องอยู่เสมอ จึงจะทำให้ได้ช็อตแบบ แมทคัทที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด
 จากภาพด้านบน สังเกตภาพที่ 2 และ 3 จะเห็นว่าผู้ตัดต่อใช้ตัวละครที่กำลังนั่งหลับในท่าทางใกล้เคียงกันเป็นการ เชื่อมช็อต จากช็อตห้องนอน ไปยังช็อตห้องเรียนได้ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถกระชับเวลาที่ใช้ในเรื่องได้เป็นอย่างมาก อีกทั้ง ยังทำให้เรื่องราวในภาพยนตร์ดูไม่น่าเบื่ออีกด้วย  1.2 การตัดต่อแบบแทรกคัท (Insert Cut) การตัดต่อแบบแทรกคัท คือ การตัดภาพแทรกระหว่างช็อตหลัก (Master Shot) ซึ่งเป็นช็อตยาว และมีภาพกว้าง ใช้เมื่อต้องการเน้นจุดสำคัญของฉากนั้นให้มากขึ้น เช่น การเน้นให้เห็นชัดถึงสิ่งที่ตัวละครกำลังยืนมองอยู่ สิ่งที่ตัวละครหยิบจับ เป็นต้น การตัดต่อแบบแทรกคัท ทำได้ด้วยการตัดภาพระยะใกล้ (Close Up) หรือภาพมุมแคบแทรกเข้าไปในช็อตหลัก โดย ช็อตทั้งสองต้องมีความต่อเนื่องกัน ดังนั้น ช็อตหลักกับภาพแทรกควรจะใช้มุมกล้องที่ใกล้เคียงกัน เพื่อป้องกันการเกิด ภาพกระโดดเมื่อนำมาตัดต่อ ถ้าหากขณะถ่ายทำมีกล้องเพียงตัวเดียว นักแสดงต้องแสดงสองครั้ง หรือเล่นสอง take แล้วถ่ายด้วยมุมกล้องเดียวกัน ในระยะภาพที่แตกต่างกัน
 1.3 การตัดต่อแบบซ้ำแอ็คชั่น (Reaction Cut) การตัดต่อแบบซ้ำแอ็คชั่น คือ การตัดต่อภาพ ซึ่งแสดงถึงปฏิกิริยาของตัวละครที่มีต่อเหตุการณ์นั้นๆ โดยนำไปแทรก ในจังหวะที่เหมาะสม การตัดต่อในลักษณะนี้ จะไม่เน้นผู้พูดเพียงอย่างเดียว แต่จะมีการตัดสลับมาที่ผู้ฟังด้วย เช่น การถ่ายทำ บทสนทนาระหว่างคนสองคน อาจมีการตัดภาพไปยังผู้ฟังที่กำลังฟังผู้พูดพูดอยู่ เพื่อให้ผู้ชมเห็นปฏิกิริยาของผู้ฟัง หรืออาจเป็น การตัดภาพมาที่บุคคลที่สาม ซึ่งกำลังแอบฟังบทสนทนาอยู่ เป็นต้น การตัดต่อภาพแบบซ้ำแอ็คชั่น ผู้ตัดต่อต้องเลือกจังหวะภาพหรือเหตุการณ์ให้เหมาะสม ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะ อาจเป็นการดึงความสนใจของผู้ชมไปจากภาพหลักได้  1.4 การตัดต่อแบบคัทอะเวย์ (Cutaway) การตัดต่อแบบคัทอะเวย์ คือ การตัดต่อภาพ ไปยังภาพอื่น ขณะที่ภาพเหตุการณ์นั้นยังดำเนินอยู่ เป็นการหักเห ความสนใจจากช็อตหลักที่ยืดเยื้อ ช่วยให้เรื่องราวมีความกระชับมากยิ่งขึ้น เช่น การตัดภาพจากตัวละครที่กำลังเดินอยู่กลาง สะพานลอย แล้วตัดภาพมาที่ตัวละครกำลังเดินลงบันไดของสะพานลอยขั้นสุดท้าย หรือการตัดภาพจากบ้านที่อยู่ท่ามกลาง ป่ารกร้าง แล้วตัดภาพมาภายในบ้านที่มีสภาพรกร้างเช่นเดียวกัน เป็นต้น การตัดต่อลักษณะนี้ ไม่เน้นความต่อเนื่อง แต่ก็ยังต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของเรื่องราว ไม่ควรขัดแย้งต่อความรู้สึก อีกทั้ง ยังต้องการสื่อความหมายและช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ชมด้วย
จากภาพด้านบน ก็ตัดภาพจากอาคารเรียน ไปเป็นภาพภายในห้องเรียนได้ โดยไม่รู้สึกขัดแย้ง
2. การตัดต่อแบบเรียบเรียง
 การตัดต่อแบบเรียบเรียง เป็นการตัดต่อที่เน้นการบรรยายด้วยภาพและเสียงที่มีความสอดคล้องกันทั้งเนื้อหา จังหวะการเปลี่ยนฉาก และการเชื่อมต่อภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสาระสู่ผู้ชม การตัดต่่อแบบเรียบเรียง นิยมใช้กับภาพยนตร์ประเภทสารคดี ซึ่งการตัดต่อในลักษณะนี้ ต้องตัดต่อภาพให้สอดคล้อง กับเสียงบรรยาย และภาพที่ใช้ก็ไม่ควรซ้ำกัน ดังนั้น จึงควรมีการคัดภาพไว้ก่อนที่จะเริ่มตัดต่อ ส่วนภาษาที่ใช้บรรยาย ก็ควร เป็นถ้อยคำที่สละสลวย น้ำเสียงการพูดไหลลื่น ไม่ติดขัด และมีการเน้นจังหวะหนักเบาของเสียง เพื่อเร้าอารมณ์ให้ผู้ชม คล้อยตาม สังเกตได้จากตัวอย่างสารคดี ดังต่อไปนี้
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.