2 4 3 1 เมนูกิจกรรม
ตัวอย่างบทภาพยนตร์
คลังสื่อการเรียนรู้
ขนาดภาพและมุมกล้อง
การวางแผนการถ่ายทำ  หลังจากได้บทภาพยนตร์แล้ว ก่อนสร้างภาพยนตร์สั้น เราควรมีการวางแผนการถ่ายทำ ซึ่งผู้สร้างหรือผู้กำกับจะต้องนำ บทภาพยนตร์ (Screenplay) มาศึกษาแล้วตีความหมายเกี่ยวกับฉาก ตัวละคร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ บุคคลที่เกี่ยวข้องก่อนลงมือ ถ่ายทำจริง คัดเลือกนักแสดง สำรวจสถานที่ถ่ายทำ จัดทำบทถ่ายทำ (Shooting Scrip) ฉบับของตนเอง และตารางงานถ่ายทำ โดยมี ขอบเขตงานที่ต้องทำ ดังนี้ 1. งานเอกสาร ได้แก่ บทภาพยนตร์แล้วนำมาเพิ่มเติมในเรื่องของมุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง แบ่งช็อตการถ่ายทำฉบับ ของตนเอง ตารางงานถ่ายทำหรือ Breakdown Sheet เพื่อกำหนดเวลาในการถ่ายทำ ประชุมทีมงานให้พร้อม 2. งบประมาณ ประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการสร้างภาพยนตร์สั้นเรื่องนั้นๆ โดยอาจเริ่มประมาณตั้งแต่ ระยะเวลาการถ่ายทำ สถานที่ถ่ายทำ ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ ค่าอาหารที่ใช้ในการถ่ายทำ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ควรให้อยู่ภายใน งบประมาณที่มีอยู่หรือที่กำหนดไว้ หากงบประมาณที่มีน้อยมากเกินไปควรหาผู้สนับสนุนเพิ่ม 3. บุคลากร วางตัวทีมงานให้เหมาะสมกับบุคลิกของแต่ละคนโดยมีการจัดแบ่งหน้าที่ให้รับผิดชอบให้เหมาะสมกับ ตำแหน่ง เช่น ตำแหน่งกล้อง ควรมีกล้องหลักและกล้องรอง เพื่อถ่ายมุมกว้าง มุมแคบสำหรับการถ่ายเพื่อให้ใช้ในการตัดต่อ สลับมุม รวมถึงคัดเลือกนักแสดงให้บุคลิกตรงกับบทภาพยนตร์ 4. วัสดุอุปกรณ์และสถานที่ เลือกสถานที่ให้เหมาะสมกับบทและง่ายต่อการถ่ายทำ สำรวจสถานที่การถ่ายทำก่อน ลงมือถ่ายจริงเพื่อเตรียมหามุมกล้องที่ต้องการ ซึ่งเมื่อถึงเวลาถ่ายทำจริงจะต้องลงมือปฏิบัติตามเวลาที่วางไว้ในตารางงาน (Breakdown Sheet) ดังนั้น การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ประกอบฉากและหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำ เช่น บท กล้อง สมาร์ตโฟน ขาตั้งกล้อง เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคอยดูแลให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ จึงจะทำให้การถ่ายทำราบรื่นและไม่ติดขัด นอกจากนี้ ในขั้นตอนการบันทึกเสียง หากไม่มีไมค์ในการถ่ายทำ ผู้สร้างอาจเลือกใช้สมาร์ตโฟนอัดเสียงแทนได้
ตารางงานถ่ายทำ
 เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการถ่ายทำ ตารางงานถ่ายทำมีความสำคัญต่องานสร้าง ผู้อำนวยการสร้าง ผู้กำกับภาพยนตร์ เพราะ ตารางงานจะบอกให้เรารู้ว่า วันที่เราจะถ่าย เราจะต้องการถ่ายอะไรบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร อันไหนถ่ายก่อน ถ่ายหลัง เพื่อจะได้จัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อมรวมถึงคิวของนักแสดงของแต่ละฉาก (Scene) โดยมีคำอธิบายรายละเอียดของตารางงาน ถ่ายทำ ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง
 1. ลำดับที่ : หมายถึง ลำดับวันที่ของการถ่ายทำ เลข 1 คือการถ่ายทำวันที่ 1 เลข 2 คือ จำนวนวันของการถ่ายทำทั้งหมด 2. Project : หมายถึง ชื่องานหรือชื่อหนังสั้นที่ถ่ายทำ 3. วันที่ถ่ายทำ : หมายถึง วันที่ของการถ่ายทำ 4. ควบคุมการผลิต : ชื่อผู้บริหารงานสร้าง ผู้อำนวยการผลิต หรือผู้ควบคุมดูแลงานสร้างทั้งหมด 5. กำกับภาพยนตร์ : ชื่อผู้กำกับ 6. เวลาถึงสถานที่ถ่ายทำ : เวลานัดหมายประชุมก่อนถ่ายทำ 7. เวลาพร้อมถ่าย : เวลาลงมือปฏิบัติถ่ายทำ 8. Sc.no : หมายถึง ลำดับฉากการถ่ายทำ (ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของการถ่ายทำ โดยตอนเช้า ตอนเย็น และสถานที่ถ่ายทำ) 9. Int/Ext. : หมายถึง การถ่ายทำ ภายใน หรือภายนอก โดยภายใน คือ การถ่ายในสถานที่อยู่ภายใต้อาคารที่มีหลังคา ปกคลุม หรือห้องภายในอาคาร โดยส่วนใหญ่จะนิยมถ่ายช่วงอากาศร้อนในตอนกลางวัน ส่วนการถ่ายภายนอก คือ การถ่ายทำ สถานที่โล่งแจ้ง ตามสนาม ริมถนน สวนสาธารณะ ที่ไม่มีอะไรมาปกคลุม ควรถ่ายทำช่วงเวลาเช้า และช่วงเย็น เพื่อหลีกเลี่ยง แสงแดด อากาศร้อน และแสงไม่สวยต่อการตัดต่อ 10. Scene : หมายถึง ชื่อของฉาก และสถานที่ที่ใช้ในการถ่ายทำ 11. D/N : หมายถึง การถ่ายเวลากลางวัน (Day) หรือ กลางคืน (Night) 12. Description : หมายถึง คำอธิบายเพิ่มเติมบางฉาก ต้องการเน้นกิจกรรมอะไร 13. Cast : หมายถึง ชื่อนักแสดงในแต่ละฉาก 14. Time : หมายถึงช่วงเวลาในการถ่ายทำ 15. Remark : หมายถึง หมายเหตุเพิ่มเติม และเพิ่มเติมรายละเอียด อุปกรณ์ประกอบฉากด้านล่างตาราง ดังนั้น ตารางงานถ่ายทำ (Breakdown Script) เป็นอีกส่วนหนึ่งของขั้นเตรียมการผลิตภาพยนตร์สั้น (Pre - Production) ที่ต้องมีการวางแผนก่อนถ่ายทำ เพื่อให้งานบรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างภาพยนตร์สั้น แต่ถ้าเป็น ทีมงานสมัครเล่นอาจใช้วิธีการวางแผนให้กระชับและเข้าใจง่าย โดยอาจจัดทำเป็นแบบฉบับกันเองที่ดูแล้วเข้าใจง่ายกันทุกคนก็ได้
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.