2 4 3 1 เมนูกิจกรรม
ตัวอย่างบทภาพยนตร์
คลังสื่อการเรียนรู้
ขนาดภาพและมุมกล้อง
ขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์  บทภาพยนตร์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ บทโครงสร้าง (Plot Structure) บทแสดง (Screenplay) และบทถ่ายทำ (Shooting Script) ผู้เขียนบท เป็นผู้เขียนบทโครงสร้าง และบทแสดง ส่วนบทถ่ายทำจะเป็นตากล้องกับผู้กำกับร่วมกันนำ บทแสดงมาจัดทำเพิ่มเติมในส่วนของ มุมกล้อง ฉาก แอ็คชั่นของนักแสดงรวมไปด้วย โดยการขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์ มี 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การค้นคว้าหาข้อมูล (Research)
 การค้นคว้าหาข้อมูล เป็นขั้นตอนการศึกษารายละเอียดของเรื่องราวที่ต้องอาศัยความถูกต้องชัดเจน และครบถ้วน จากแหล่งข้อมูลต่างๆ แล้วจึงนำมาเขียนบทภาพยนตร์ ซึ่งข้อมูลที่ใช้เขียนบทภาพยนตร์ไม่ควรผิดพลาด เพราะภาพยนตร์ ที่สร้างขึ้น เป็นสื่อที่ถูกประชาสัมพันธ์สู่สังคมภายนอก ถ้าหากข้อมูลในภาพยนตร์ผิดพลาด อาจทำให้ผู้ชมเข้าใจผิด หรือ หลงเชื่อข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไปได้
2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (Premise)
 การกำหนดประโยคหลักสำคัญ หรือแก่นเรื่อง (Theme) เป็นความคิดรวบยอด (Concept) ของเรื่องอาจ เป็นปรัชญา คำคม หรือบทความที่สอนเตือนสติมนุษย์ ซึ่งแก่นเรื่องจะต้องคลอบคลุมเนื้อหาภาพยนตร์ทั้งเรื่อง โดยภาพยนตร์สั้นควรมี ประเด็นเนื้อหาสำคัญเพียงประเด็นเดียวที่นำเสนอ การเขียนแก่นเรื่องเปรียบได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องและมีความสำคัญ ต่อผู้เขียน บทภาพยนตร์ เสมือนเป็นผู้ประกาศความคิดเห็นของตนไปยังผู้ชม
3. การเขียนโครงเรื่อง (Plot)
 การเขียนโครงเรื่องจะเป็นการเล่าเหตุการณ์ ว่าใคร พระเอก นางเอกมีนิสัยอย่างไร ต้องการอะไร ทำอะไร มีตัวร้าย มาเป็นอุปสรรค ขัดแย้งกันด้วยเรื่องใด จนเกิดจุดหักเห หักมุม ทำให้เนื้อเรื่องมุ่งไปสู่จุด Climax ของเรื่อง และกำหนดว่า เรื่องจะจบแบบไหน โดยจะมีความยาวตั้งแต่หนึ่งย่อหน้าจนถึงสองหน้าก็เพียงพอแต่จะสั้นกว่าโครงเรื่องขยาย (Treatment) ไม่จำเป็นต้องมีความต่อเนื่อง แต่ต้องลำดับการเล่าเรื่องตามจังหวะ เหตุการณ์ที่ผู้เขียนบทภาพยนตร์วางไว้
4. การเขียนโครงเรื่องขยาย (Treatment)
 การเขียนโครงเรื่องขยาย เป็นการเล่าเรื่องเพิ่มจากโครงเรื่อง ที่มีรายละเอียดของเหตุการณ์ทั้งหมด มีกี่ตอน กี่ฉาก มีรายละเอียด อะไรบ้าง ตรงประเด็นไม่หลงประเด็น
5. บทภาพยนตร์ หรือบทแสดง (Screenplay)
 บทภาพยนตร์ บทแสดง หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า บท (Script) ประกอบด้วยเหตุการณ์ หรือตอน (Sequence) และ ฉาก (Scene) บอกถึงตัวละคร บทพูด คำอธิบายฉาก มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ฉาก เวลา สถานที่อยู่ชิดขอบหน้า ซ้ายกระดาษ โดยบทภาพยนตร์จำเป็นต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 1. บทพูด หรือบทสนทนา (Dialogue) ของตัวละครที่โต้ตอบกัน เป็นสื่อบ่งบอกอารมณ์ ความต้องการให้ผู้ชมรับรู้ 2. ฉาก และเหตุการณ์ (Scene and Sequence) เหตุการณ์ที่ ใช้แสดง แอ็คชั่นของตัวละคร ในห้วงเวลาใด เวลาหนึ่งที่ อยู่ในเรื่อง
 บทภาพยนตร์อาจต้องมีกลวิธีการเล่าเรื่อง หรือมุมมอง (Point of View) ที่ช่วยพาเรื่องให้ไปสู่จุดหมาย และกำหนด ว่าใครเป็นผู้เล่าเรื่อง จะทำให้บทของเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยนักเรียนสามารถดูตัวอย่างบทภาพยนตร์ ได้จาก เมนูด้านข้าง
6. บทถ่ายทำ (Shooting Script)
 บทถ่ายทำ ไม่มีรูปแบบชัดเจน ขึ้นอยู่กับผู้กำกับและทีมงานโดยนำเอาบทภาพยนตร์ (Screenplay) มาแตกออกเป็น ช็อต (Shot) เพื่อให้ง่ายต่อการถ่ายทำ ควรมี Master Shot กันไว้สำหรับตัดต่อ อย่างน้อย 1 คลิป แล้วค่อยมาแตกช็อต แบบเจาะ หน้าเวลา ตัวละครสนทนาคนเดียว หรือช็อตปานกลาง เวลาสนทนาเป็นกลุ่ม เพื่อนำไปใช้แทรกในการตัดต่อทำให้ หนังของเรา ไม่น่าเบื่อ คนรับชมมีอรรถรสในการรับชม สิ่งสำคัญในบทถ่ายทำควรมีการเขียน ขนาดภาพ มุมกล้อง และการ เคลื่อนกล้องไว้ให้ ช่างภาพรับรู้ว่าจะถ่ายทำอย่างไรทีมงานมือใหม่ ต้องช่วยกันทั้งผู้เขียนบท ช่างภาพ และผู้กำกับมาช่วยกัน จัดทำบทถ่ายทำ และขณะถ่ายทำควรอยู่รวมกัน โดยผู้เขียนบทอาจเป็นคนเดียวกับช่างภาพ หรือผู้กำกับ หรือเป็นหลาย ตำแหน่งก็ได้ ถ้าหากทีมงานไม่พอเพียงสำหรับการถ่ายทำ
 บทถ่ายทำ ไม่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้กำกับภาพยนตร์ แต่ต้องระบุเรื่องสำคัญหลักๆ ใช้ประกอบด้วยเหตุการณ์ ฉาก ช็อต บอกขนาดภาพ และมุมกล้อง การเคลื่อนกล้อง การเชื่อมช็อต คนเขียนบทมือใหม่ หรือ มือสมัครเล่น จะเขียนบทแบบอธิบายแอ็คชั่นกับบทสนทนาเป็นหลัก มักเขียนย่อหน้ายาวๆ ให้ผู้กำกับตีความ และทำความ เข้าใจกับช่างภาพ ต้องจินตนาการกันเองด้วย แต่ในรายวิชานี้ จะแนะนำให้เลือกใช้ บทภาพยนตร์ ที่ผสมรวมกับบทถ่ายทำ เล็กน้อย เพราะจะเป็นบทที่ทีมงานทุกคนสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย และใช้เวลาน้อย ในการเรียนรู้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
7. บทภาพ (Storyboard)
 บทภาพ เป็นบทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่ใช้ภาพร่างให้เห็นขนาด ตำแหน่งของตัวละคร ฉาก ภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง ไม่จำเป็นต้องเขียนสตอรี่บอร์ดทั้งเรื่อง จะใช้สำหรับตอนที่เข้าใจยากหรือซับซ้อน โดยในภาพยนตร์สั้น โฆษณา จำเป็นต้อง เขียนสตอรี่บอร์ดอย่างละเอียดเพื่อให้เจ้าของงานตรวจสอบแก้ไขก่อนนำไปถ่ายทำจริง
ตัวอย่าง การเขียนสตอรี่บอร์ด  ดังนั้น การเขียนบทภาพยนตร์สั้น สรุปได้ว่า การเขียนบทภาพยนตร์สั้นควรมีองค์ประกอบได้แก่ แก่นเรื่อง เรื่องราว ตัวละคร บทสนทนาที่มีฉาก เหตุการณ์ต่างๆ และวิธีการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ ซึ่งจะมีโครงสร้างการเขียนบท คือ จุดเริ่มต้น การพัฒนาเรื่อง และจุดสิ้นสุด โดยปัจจัยสำคัญในโครงสร้างบทควรมีการแนะนำ การสร้างเงื่อนไข การสร้างวิกฤตกาล จุดวิกฤตสูงสุด และผลสรุป หรือ ถ้าภาพยนตร์สั้นมีการนำเสนอเรื่องราวไม่กี่นาทีและทีมงานไม่มาก ผู้เขียนบทสามารถปรับ ประยุกต์ในการเขียนให้เข้าใจง่ายขึ้นสำหรับทีมงานเพื่อประหยัดเวลาในการผลิต หรือการสร้างภาพยนตร์สั้นนั้นๆ สำหรับขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์สั้น ของชุดกิจกรรมบนเว็บ เรื่อง การสร้างสรรค์สื่อประสม มีข้อจำกัดด้วยเวลา เรียน จึงกำหนดให้นักเรียนเขียนบทภาพยนตร์สั้น และประยุกต์การเขียนบท โดยนำบทภาพยนตร์ (Screenplay) ผนวกรวม กับบทถ่ายทำ (Shooting Script) มารวมไว้ด้วยกันเพื่อลดระยะเวลาในการเขียนบทภาพยนตร์ ดังตัวอย่างของบทภาพยนตร์ ที่ให้ไว้ในกิจกรรมที่ 2 นี้
 Copyright @ 2017-2018. by KruNatcha, All rights reserved.